สรุปข้อสนเทศ :FUTUREPF

BackDec 04, 2006

 - สรุปข้อสนเทศ -
                       กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ฟิวเจอร์พาร์ค (FUTUREPF)

สำนักงานของบริษัทจัดการ
                           เลขที่  130-132  อาคารสินธรทาวเวอร์ 3  ชั้น 15,17 และ 18
                           ถนนวิทยุ  แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน  กรุงเทพฯ 10330

วันที่เป็นหลักทรัพย์จดทะเบียน     เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2549  (เริ่มทำการซื้อขาย 7 ธันวาคม 2549)

ประเภทหลักทรัพย์จดทะเบียน     หน่วยลงทุน 473,316,100 หน่วย มูลค่าที่ตราไว้หน่วยละ 10 บาท
                          รวม 4,733.161  ล้านบาท
                          จำนวนเงินทุนของโครงการ  ที่ได้รับอนุมัติการจัดตั้งและจัดการจาก
                          สำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต  4,733.161  ล้านบาท

ประวัติความเป็นมาโดยสรุป
         กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ฟิวเจอร์พาร์ค เป็นกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ที่ลงทุนใน สิทธิการเช่า
อาคารโครงการ ฟิวเจอร์ พาร์ค รังสิต บางส่วน  โดยกองทุนได้รับอนุมัติการจัดตั้งและจัดการจากสำนักงาน
คณะกรรมการ ก.ล.ต. ตามหนังสือเลขที่ กลต.น. 2315/2549 เรื่อง การขออนุมัติจัดตั้งและจัดการ
กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ฟิวเจอร์พาร์ค  ลงวันที่ 20 ตุลาคม  2549   และหนังสือเลขที่ น. 1429/2549
เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมโครงการจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ฟิวเจอร์พาร์ค  ลงวันที่ 8 พฤศจิกายน 2549
บริษัทจัดการได้เปิดขายหน่วยลงทุนให้แก่นักลงทุน ณ ราคาเสนอหน่วยลงทุน 10 บาท ระหว่างวันที่ 9 พฤศจิกายน
2549 ถึงวันที่ 17  พฤศจิกายน 2549  และได้รับอนุมัติการจดทะเบียนกองทรัพย์สินเป็นกองทุนรวมจากสำนักงาน
คณะกรรมการ ก.ล.ต เมื่อวันที่  23 พฤศจิกายน 2549

ลักษณะโครงการ
         กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ประเภทไม่รับซื้อคืนหน่วยลงทุนและเป็นกองทุนรวมที่ระบุเฉพาะเจาะจง

อายุโครงการ        ไม่กำหนด

วัตถุประสงค์และนโยบายการลงทุน
วัตถุประสงค์ :
         เพื่อระดมเงินทุนจากนักลงทุนทั่วไป ประเภทบุคคลธรรมดาสัญชาติไทยและต่างประเทศและนิติบุคคล
ในและต่างประเทศ ซึ่งกองทุนรวมจะนำเงินที่ได้จากการระดมเงินทุนไปซื้อ และ/หรือเช่าอสังหาริมทรัพย์โดย
กองทุนรวมจะรับโอนกรรมสิทธิ์และ/หรือสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์และจัดหาผลประโยชน์จากอสังหาริมทรัพย์
ดังกล่าวโดยการให้เช่า ให้เช่าช่วง โอน และ/หรือจำหน่าย อสังหาริมทรัพย์ที่กองทุนรวมได้ลงทุนหรือมีไว้
ตลอดจนทำการปรับปรุง เปลี่ยนแปลง พัฒนาศักยภาพ และ/หรือจำหน่ายทรัพย์สินต่างๆ ที่กองทุนได้ลงทุนไว้หรือ
มีไว้ไม่ว่าจะเป็นการให้เช่า และ/หรือขาย และ/หรือดำเนินการอื่นใดที่เกี่ยวข้องและจำเป็นเพื่อการใช้ประโยชน์
ในอสังหาริมทรัพย์เพื่อมุ่งก่อให้เกิดรายได้และผลตอบแทนแก่กองทุนรวมและผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวม
รวมถึงการลงทุนในทรัพย์สินอื่น และ/หรือหลักทรัพย์อื่น และ/หรือการหาดอกผลอื่นโดยวิธีอื่นใดตามที่กำหนด
ในกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ และ/หรือกฎหมายอื่นใดที่เกี่ยวข้อง

หลักเกณฑ์การลงทุน :
         หลักเกณฑ์ในการซื้อ เช่า จำหน่าย หรือโอนสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์จะเป็นไปตามรายละเอียด
ที่ระบุไว้ในโครงการ / หนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุน ("หนังสือชี้ชวน")  ข้อ 4 "หลักเกณฑ์การลงทุน"
ทั้งนี้ บริษัทจัดการจะลงทุนเพื่อให้ได้มาและมีไว้ซึ่งอสังหาริมทรัพย์หรือสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์มีมูลค่า
รวมกันไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม ณ วันสิ้นรอบระยะเวลาบัญชีประจำปี
เว้นแต่ในกรณี ดังต่อไปนี้
        (1)  ก่อนวันสิ้นรอบระยะเวลาบัญชีประจำปีแรกและในรอบระยะเวลาบัญชีประจำปีสุดท้าย
ก่อนสิ้นอายุโครงการ
         (2) ในรอบระยะเวลาบัญชีที่มีการจำหน่ายหรือโอนสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ของกองทุนรวม หรือ
         (3) เมื่อได้รับการผ่อนผันจากสำนักงาน

นโยบายการลงทุน :
การลงทุนครั้งแรก
         ณ วันที่ 24 พฤศจิกายน 2549  กองทุนได้ลงทุนในอสังหาริมทรัพย์แล้วเสร็จโดยบริษัทจัดการได้ลงทุน
ใน สิทธิการเช่าอาคารโครงการ ฟิวเจอร์ พาร์ค รังสิต บางส่วน รวมเนื้อที่ประมาณ 52,573.09 ตารางเมตร
และ สิทธิในการนำพื้นที่บางส่วนของพื้นที่ส่วนกลางจำนวน 48,190.51 ตารางเมตร และพื้นที่ผนังภายนอกอาคาร
ของอาคารโครงการ ฟิวเจอร์ พาร์ค รังสิต ออกหาประโยชน์ในรูปแบบของการให้เช่า ให้บริการ ให้สิทธิใช้พื้นที่
หรือรูปแบบอื่นใด โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

โครงการฟิวเจอร์พาร์ค รังสิต
         1.  ข้อมูลทั่วไปของโครงการฟิวเจอร์ พาร์ค รังสิต ก่อนวันที่กองทุนรวมเข้าลงทุน
             โครงการฟิวเจอร์ พาร์ค รังสิต เปิดดำเนินการในปี พ.ศ. 2538 เป็น Gateway ของถนน
พหลโยธิน และเป็นศูนย์กลางการคมนาคมที่เชื่อมต่อระหว่างกรุงเทพมหานครกับจังหวัดต่าง ๆ ในภาคเหนือ
ภาคกลาง และ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือกว่า 56 จังหวัด มีการคมนาคมที่สะดวก โดยโครงการตั้งอยู่บนถนน
พหลโยธิน ช่วงที่เป็นทางแยกไปจังหวัดนครนายกและจังหวัดปทุมธานี นอกจากนี้สามารถใช้เส้นทางถนนวงแหวน
รอบนอก ดอนเมือง-โทลเวย์ ทางด่วนขั้นที่ 1 และขั้นที่ 2 ดินแดง- แจ้งวัฒนะ-บางปะอิน โครงการฟิวเจอร์
พาร์ค รังสิต ตั้งอยู่ในทำเลที่แวดล้อมด้วยโครงการหมู่บ้านจัดสรรที่มีการขยายตัวมากที่สุดของประเทศไทย
(คิดเป็นร้อยละ 40 ในปี 2547 ซึ่งคำนวณจากจำนวนโครงการอสังหาริมทรัพย์ในพื้นที่ดอนเมือง หลักสี่ สายไหม
จตุจักร ปทุมธานี หารด้วยจำนวนโครงการอสังหาริมทรัพย์ในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล) และอยู่ในแหล่ง
สถาบันอุดมศึกษาถึง 22 แห่ง  (นักศึกษาประมาณ 170,000 คน) มีหน่วยงานราชการ 30 หน่วยงาน
(ข้าราชการประมาณ 195,000 คน) จึงทำให้โครงการฟิวเจอร์ พาร์ค รังสิต มีผู้มาใช้บริการในวันธรรมดา
มากถึงประมาณ120,000 คนต่อวัน และประมาณ 140,000 คนต่อวันในวันหยุดและวันหยุดนักขัตฤกษ์  โดยเป็น
ศูนย์การค้าที่ไม่มีคู่แข่งในรัศมี  20 กิโลเมตร โครงการที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคตในบริเวณใกล้เคียง
ได้แก่ ศูนย์ราชการแห่งใหม่บนถนนแจ้งวัฒนะ  และ รถไฟฟ้าสายสีแดง บางซื่อ-รังสิต
              ดังนั้นโครงการฟิวเจอร์ พาร์ค รังสิต  จึงเป็นศูนย์การค้าครบวงจรขนาดใหญ่แห่งแรก
และแห่งเดียวที่รวมห้างสรรพสินค้า 2 แห่งและซูเปอร์มาร์เก็ตอีก 1 แห่งไว้ในสถานที่เดียวกัน ประกอบด้วย
ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน บิ๊กซีซูเปอร์เซ็นเตอร์ และร้านค้าย่อยกว่า 882 ร้านค้า
โรงภาพยนต์อีจีวี สถานออกกำลังกายฟิตเนส เฟิร์สท ศูนย์รวมร้านอาหาร  ศูนย์รวมสินค้าแฟชั่น สุขภาพ
และความงาม ศูนย์คอมพิวเตอร์และโทรศัพท์มือถือ ศูนย์รวมเฟอร์นิเจอร์ ศูนย์รวมด้านการศึกษา
และศูนย์รวมบริการต่างๆ นอกจากนี้ โครงการฟิวเจอร์ พาร์ค รังสิต ยังเป็นศูนย์การค้าที่ได้รับรางวัล
อาคารด้านการประหยัดพลังงาน ในปี พ.ศ.2543
              1.1    ที่ตั้งโครงการ
               ศูนย์การค้าฟิวเจอร์ พาร์ค รังสิต ตั้งอยู่เลขที่ 94 ถนนพหลโยธิน ตำบลประชาธิปัตย์
อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี เป็นถนนสายหลักเชื่อมไปสู่จุดศูนย์กลาง หรือเป็นจุดเชื่อมต่อระหว่างภาคกลาง
ภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือกว่า 56 จังหวัด นอกจากนี้ พื้นที่ดังกล่าวอยู่ในบริเวณใกล้เคียงกับหมู่
บ้านจัดสรร มหาวิทยาลัย และแหล่งนิคมอุตสาหกรรม โดยประชากรเป้าหมายสามารถเดินทางสู่ศูนย์การค้าโดย
ใช้เส้นทาง ต่าง ๆ ดังนี้
                   -   ถนนพหลโยธิน 10 ช่องทางจราจร เป็นเส้นทางหลักสำหรับประชากรจาก
จังหวัดสระบุรี ลพบุรี นครราชสีมา พระนครศรีอยุธยา อ่างทอง สิงห์บุรี ปราจีนบุรี นครสวรรค์ อุทัยธานี
                  -   ดอนเมืองโทลเวย์ ที่เชื่อมต่อทางด่วนดินแดง สำหรับประชากรที่พักอาศัยอยู่ใน
กรุงเทพมหานคร
                 -   ถนนวงแหวนรอบนอก เชื่อมต่อระหว่างบางปะอิน-อ่อนนุช-บางนา-ชลบุรี-บางใหญ่-
บางแค-
พระราม 2
                 -  ทางด่วนเชื่อมต่อครบวงจรระหว่างบางนา-สุขุมวิท-รามอินทรา-พระราม 9-
พระราม 4-ดาวคะนอง- สีลม- ยมราช-พระราม 6-แจ้งวัฒนะ-บางพูน-บางปะอิน
                 -  โครงการรถไฟฟ้าสีแดงบางซื่อ-รังสิต (โครงการในอนาคต)

รายละเอียดของอสังหาริมทรัพย์ และลักษณะการถือครองสิทธิ  มีดังต่อไปนี้
         1.  อาคารโครงการ ฟิวเจอร์ พาร์ค รังสิต เลขที่ 94 ถนนพหลโยธิน ตำบลประชาธิปัตย์
อำเภอธัญบุรี  จังหวัดปทุมธานี
              ผู้มีกรรมสิทธิ์ /  ผู้มีสิทธิในการใช้ประโยชน์ :
              บริษัท รังสิตพลาซ่า จำกัด *  มีฐานะเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์และมีสิทธิในการใช้ที่ดินเลข
โฉนดเลขที่ 310 และเลขที่ 92118 ภายใต้สัญญาเช่าระยะยาว **
         2.  ที่ดินโฉนดเลขที่ 310 และเลขที่  92118 มีเนื้อที่ 108-1-67.5 ไร่ ซึ่งเป็นที่ตั้งของ
อาคารโครงการ ฟิวเจอร์ พาร์ค รังสิต
              ผู้มีกรรมสิทธิ์ /  ผู้มีสิทธิในการใช้ประโยชน์ :
             บริษัท พิพัฒนสิน จำกัด ***  มีฐานะเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ซึ่งได้เข้าทำสัญญาเช่าที่ดิน
ดังกล่าวกับบริษัท รังสิตพลาซ่า จำกัด
         3.   งานระบบสาธารณูปโภค
               ผู้มีกรรมสิทธิ์ /  ผู้มีสิทธิในการใช้ประโยชน์ :
               บริษัท รังสิตพลาซ่า จำกัด มีฐานะเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์
               *   รายชื่อผู้ถือหุ้นของบริษัท รังสิตพลาซ่า จำกัด
                    1.   กลุ่มตระกูลหวั่งหลี                         24.64%
                    2.  บริษัท สหพิทักษ์สิน จำกัด                      9.99%
                    3.   บริษัท พิพัฒนสิน จำกัด                       9.03%
                    4.  บริษัท รังสิตร่วมพัฒนา จำกัด                   8.88%
                    5.  บริษัท วัฒนวนา จำกัด                        7.25%
                    6.  บริษัท ห้างสรรพสินค้า โรบินสัน จำกัด            6.56%
                    7.  บริษัท สาธรนครทาวเวอร์ จำกัด                5.09%
                    8.  บริษัท เลครัชดา จำกัด                       5.00%
                    9.  ผู้ถือหุ้นรายอื่นๆ                            23.56%
                    รวม                                       100.00%
              **  สัญญาเช่าที่ดินโฉนดเลขที่ 310 ระหว่างบริษัท รังสิตพลาซ่า จำกัด และบริษัท พิพัฒนสิน
จำกัด ลงวันที่ 27 ธันวาคม 2534 และบันทึกข้อตกลงต่อท้ายสัญญาเช่า ลงวันที่ 26 สิงหาคม 2539
และสัญญาเช่าที่ดิน โฉนดเลขที่ 92188 ระหว่างบริษัท รังสิตพลาซ่า จำกัด และบริษัท พิพัฒนสิน จำกัด
ลงวันที่ 12 ธันวาคม 2543 ซึ่งสัญญาเช่าดังกล่าวจะสิ้นสุดในวันที่ 31 ธันวาคม 2564 อย่างไรก็ดี
บริษัท รังสิตพลาซ่า จำกัด และบริษัท พิพัฒนสิน จำกัดได้ลงนามในสัญญาเช่าที่ดิน โฉนดเลขที่ 310 และ
92118 มีกำหนดระยะเวลาการเช่าเป็นเวลา 5 ปี นับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2565 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม
2569 โดยสัญญาดังกล่าวจะมีผลบังคับในวันที่มีการจัดตั้งกองทุนรวม
              *** รายชื่อผู้ถือหุ้นของบริษัท พิพัฒนสิน  จำกัด
                    1.  กลุ่มตระกูลหวั่งหลี                  80.56%
                       (รวมของมูลนิธิทองพูล หวั่งหลี)
                    2.  กลุ่มตระกูลพิศาลบุตร                16.66%
                    3.  บริษัท บ้านสวนหมาก จำกัด            1.85%
                    4.  บริษัท พีรกิจ จำกัด                  0.51%
                    5.  บริษัท ศุภอรุณ จำกัด                 0.42%
                     รวม                              100.00%
            1.2   ลักษณะอาคาร ที่จอดรถยนต์ และระบบสาธารณูปโภค ในปัจจุบันก่อนที่กองทุนรวม
จะเข้าลงทุน
               โครงการศูนย์การค้าฟิวเจอร์ พาร์ค รังสิต ตั้งอยู่บนที่ดินประมาณ 108 ไร่ บนพื้นที่ก่อสร้าง
ประมาณ 500,000 ตารางเมตร
               โครงการศูนย์การค้าฟิวเจอร์ พาร์ค รังสิต เป็นอาคารสูง 5 ชั้น ความยาวประมาณ
500 เมตร และมีอาคารจอดรถทั้งหมด 7 ชั้น อยู่ด้านหลังศูนย์การค้า และมีลานจอดรถอยู่ในระดับพื้นที่
ราบด้านนอกอาคารอีก 3 แห่ง รวมจอดรถยนต์ได้ประมาณ 6,000 คัน โดยศูนย์การค้าฟิวเจอร์ พาร์ค
รังสิตได้มีการเช่าพื้นที่จอดรถเพิ่มเติมในบริเวณใกล้เคียงซึ่งสามารถจอดรถได้อีกประมาณ 1,000 คัน
ทำให้ปัจจุบันศูนย์การค้าฟิวเจอร์ พาร์ค รังสิตมีที่จอดรถทั้งสิ้นประมาณ 7,000  คัน
              บริษัท รังสิตพลาซ่า จำกัด เป็นผู้บริหารศูนย์การค้าฟิวเจอร์ พาร์ค รังสิต โดยพื้นที่ของ
ศูนย์การค้า ณ  วันที่ 30 มิถุนายน 2549  มีรายละเอียดดังนี้
                 1.  พื้นที่ศูนย์การค้า แบ่งเป็น
                     1.1  พื้นที่ให้เช่า :                 179,156.61   ตารางเมตร
                     1.2  พื้นที่ส่วนกลาง :                48,190.51   ตารางเมตร
                             -  พื้นที่ที่ก่อให้เกิดรายได้ :     7,582.79   ตารางเมตร
                             -   พื้นที่ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ :  40,607.72  ตารางเมตร
                     1.3  พื้นที่ส่วนให้บริการ :              56,281.33  ตารางเมตร
                2.   พื้นที่จอดรถยนต์ภายในอาคาร   (จอดรถยนต์ได้ประมาณ 4,500 คัน)
                                                   :  115,325.61   ตารางเมตร
                3.   พื้นที่ลานจอดรถยนต์ภายนอกอาคาร (จอดรถยนต์ได้ประมาณ 1,500 คัน)
                                                    : 100,314.98    ตารางเมตร
                      รวมพื้นที่ทั้งหมด   :                  499,269.04   ตารางเมตร

            ระบบสาธารณูปโภค
            ระบบสาธารณูปโภคหลักประกอบด้วยลิฟท์จำนวน 12 ชุด โดยแบ่งเป็นลิฟท์สำหรับโดยสาร 6 ชุด
และ ลิฟท์ สำหรับขนของ 6  ชุด  บันไดเลื่อน 34 ชุด พร้อมระบบการให้บริการสาธารณูปโภคในอาคาร
ระบบไฟฟ้า ระบบน้ำประปา แก๊ส โทรศัพท์ การกำจัดขยะ การบำรุงรักษาเครื่องใช้และ/หรืออุปกรณ์ต่างๆ
รวมถึงการบริการ อื่นใดที่จำเป็นสำหรับอาคารศูนย์การค้า

         1.3   รูปแบบการบริหารงาน
                ปัจจุบันบริษัท รังสิตพลาซ่า จำกัด เป็นเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ และเป็นผู้บริหารศูนย์การค้า
ดูแล การให้บริการพื้นที่เช่าและการให้บริการระบบสาธารณูปโภคและบริการทั่วไป อาทิ ระบบแสงสว่าง ระบบ
ปรับอากาศ บริการรักษาความปลอดภัย บริการรักษาความสะอาดของศูนย์การค้า ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2549
บริษัท รังสิตพลาซ่า จำกัด มีบุคลากรจำนวน 256 คน

         1.4  ข้อมูลของผู้เช่า (Tenant Profile)
                ผู้เช่าของศูนย์การค้าฟิวเจอร์ พาร์ค รังสิต ประกอบด้วย  ผู้เช่าหลัก  ผู้เช่ารายย่อย
และผู้เช่าพื้นที่ส่งเสริมการขาย โดย ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2549 ศูนย์การค้าฟิวเจอร์ พาร์ค รังสิต มีอัตรา
การเช่าพื้นที่ (Occupancy Rate) เฉลี่ยร้อยละ 96.85 โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

รายละเอียดผู้เช่า แบ่งตามประเภทผู้เช่า (ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2549)
         1.   ผู้เช่าหลัก :
               พื้นที่     108,948.13  ตารางเมตร ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 60.81 ของพื้นที่ให้เช่า
         2.   ผู้เช่ารายย่อย :
               พื้นที่      64,574.68  ตารางเมตร ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 36.04  ของพื้นที่ให้เช่า
         3.   พื้นที่ว่าง :
               พื้นที่      5,633.80   ตารางเมตร ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 3.15  ของพื้นที่ให้เช่า
               รวมพื้นที่ให้เช่า :  179,156.61 ตารางเมตร ซึ่งคิดเป็นร้อยละ100.00 ของพื้นที่ให้เช่า
               อัตราการเช่าพื้นที่ : ร้อยละ 96.85 ของพื้นที่ให้เช่า
               พื้นที่ส่งเสริมการขาย :   7,582.79    ตารางเมตร
               รวมทั้งสิ้น :         186,739.40    ตารางเมตร
              ที่มา : บริษัท รังสิตพลาซ่า จำกัด

           ผู้เช่าหลักของโครงการฟิวเจอร์ พาร์ค รังสิต ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2549  ประกอบด้วย
           1.  บมจ.ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน
                ชื่อร้านค้า :      Robinson
                พื้นที่ :     41,611.64  ตารางเมตร ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 23.23   ของพื้นที่ให้เช่า
           2.   บจก.สรรพสินค้าเซ็นทรัล
                 ชื่อร้านค้า :       Central
                 พื้นที่ :     33,851.00  ตารางเมตร ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 18.89  ของพื้นที่ให้เช่า
           3.   บมจ.บิ๊กซีซูเปอร์เซ็นเตอร์
                ชื่อร้านค้า :      BIG C
                พื้นที่ :     19,693.00  ตารางเมตร ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 10.99 ของพื้นที่ให้เช่า
          4.   บมจ.อีจีวี เอ็นเตอร์เทนเมนท์
                ชื่อร้านค้า :      EGV
                พื้นที่ :      4,540.68  ตารางเมตร ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 2.53  ของพื้นที่ให้เช่า
           5.  บจก.ฟู้ดแฟร์รังสิต
                ชื่อร้านค้า :       Food Fair
                พื้นที่ :       3,575.72 ตารางเมตร ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 2.00 ของพื้นที่ให้เช่า
           6.  บจก.ฟิตเนส เฟิร์สท (ประเทศไทย)
               ชื่อร้านค้า :       Fitness First
                พื้นที่ :       2,740.00  ตารางเมตร  ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 1.53 ของพื้นที่ให้เช่า
           7.  บจก.เชลล์ ออโต้เซิร์ฟ (ประเทศไทย)
                ชื่อร้านค้า :    Shell Auto Serve
                พื้นที่ :       1,576.01  ตารางเมตร ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 0.88  ของพื้นที่ให้เช่า
           8.   บจก.ไอที ซิตี้
                ชื่อร้านค้า :       IT City
                พื้นที่ :       1,360.08  ตารางเมตร ซึ่งคิดเป็นร้อยละ  0.76 ของพื้นที่ให้เช่า
          รวมพื้นที่ของผู้เช่าหลัก : 108,948.13  ตารางเมตร ซึ่งคิดเป็นร้อยละ  60.81 ของพื้นที่ให้เช่า
           พื้นที่ให้เช่าทั้งหมด :   179,156.61  ตารางเมตร ซึ่งคิดเป็นร้อยละ  100.00 ของพื้นที่ให้เช่า
               ที่มา : บริษัท รังสิตพลาซ่า จำกัด
         1.5  ข้อมูลการเช่าพื้นที่ของศูนย์การค้าฟิวเจอร์ พาร์ค รังสิต
                1.   รายได้ค่าเช่าและค่าบริการ
                      -   ปี พ.ศ. 2546 :   849     ล้านบาท
                      -   ปี พ.ศ. 2547 :   917     ล้านบาท
                      -    ปี พ.ศ. 2548 :  986     ล้านบาท
                     -    30 ก.ย. 2549 :  767     ล้านบาท
               2.  จำนวนผู้เช่าหลักทั้งหมด  ณ 31 ธันวาคม (ก)
                    -   ปี พ.ศ. 2546 :   8   ราย
                    -   ปี พ.ศ. 2547 :   8   ราย
                    -   ปี พ.ศ. 2548 :   8   ราย
                    -   30 ก.ย. 2549 :  8   ราย
              3.   จำนวนผู้เช่ารายย่อยทั้งหมด ณ 31 ธันวาคม (ก)
                    -   ปี พ.ศ. 2546 :   504     ราย
                    -   ปี พ.ศ. 2547 :   506     ราย
                    -   ปี พ.ศ. 2548 :   509     ราย
                   -    30 ก.ย. 2549 :  571     ราย
             4.   พื้นที่ให้เช่า  ณ 31 ธันวาคม (ข)
                   -   ปี พ.ศ. 2546 :   179,686 ตารางเมตร
                   -   ปี พ.ศ. 2547 :   182,454 ตารางเมตร
                   -   ปี พ.ศ. 2548 :   182,908 ตารางเมตร
                   -   30 ก.ย. 2549 :  179,157 ตารางเมตร
              5.   อัตราการเช่าพื้นที่  ณ 31 ธันวาคม (ค)
                    -   ปี พ.ศ. 2546 :   ร้อยละ  97.4
                    -  ปี พ.ศ. 2547 :   ร้อยละ  97.6
                    -  ปี พ.ศ. 2548 :   ร้อยละ  97.4
                   -  30 ก.ย. 2549 :  ร้อยละ  97.3
              6.  ค่าเช่าเฉลี่ย (ง)
                   -   ปี พ.ศ. 2546 :   672     บาท/ตารางเมตร
                   -  ปี พ.ศ. 2547 :   706     บาท/ตารางเมตร
                   -  ปี พ.ศ. 2548 :   746     บาท/ตารางเมตร
                   -   30 ก.ย. 2549 :  794     บาท/ตารางเมตร

หมายเหตุ     (ก)  ไม่รวมผู้เช่าพื้นที่ในพื้นที่ส่วนกลาง พื้นที่ส่งเสริมการขาย และโรงอาหาร
            (ข)   ปี 2549 มีการลดพื้นที่ของผู้เช่าหลัก  และนำมาปรับปรุงเป็นพื้นที่ให้เช่า
แก่ผู้เช่ารายย่อยทำให้พื้นที่ให้เช่ารวมลดลง
            (ค)  เป็นอัตราค่าเช่าเฉลี่ยของผู้เช่ารายย่อยทุกประเภท ยกเว้นผู้เช่าพื้นที่สิ่งเสริมการขาย
และผู้เช่าสัญญาเช่าระยะยาว
                 ที่มา : บริษัท รังสิตพลาซ่า จำกัด

            1.6   สถิติผู้มาใช้บริการและจำนวนรถยนต์ที่มาใช้บริการในศูนย์การค้าฟิวเจอร์ พาร์ค รังสิต
ย้อนหลัง 3 ปี
                  ปี พ.ศ. 2546  : จำนวนผู้เข้ามาใช้บริการเฉลี่ย :      117,000 คน/วัน
                                  จำนวนรถยนต์ที่เข้ามาใช้บริการเฉลี่ย :   25,186  คัน/วัน
                  ปี พ.ศ. 2547  :  จำนวนผู้เข้ามาใช้บริการเฉลี่ย :       128,000 คน/วัน
                                  จำนวนรถยนต์ที่เข้ามาใช้บริการเฉลี่ย :     26,916  คัน/วัน
                  ปี พ.ศ. 2548  :  จำนวนผู้เข้ามาใช้บริการเฉลี่ย :        130,000 คน/วัน
                                  จำนวนรถยนต์ที่เข้ามาใช้บริการเฉลี่ย :    27,122  คัน/วัน
                 ที่มา : บริษัท รังสิตพลาซ่า จำกัด

         2.  รายละเอียดของโครงการฟิวเจอร์ พาร์ค รังสิต ส่วนที่กองทุนรวมจะเข้าลงทุน
               กองทุนรวมจะลงทุนในอาคารศูนย์การค้าฟิวเจอร์ พาร์ค รังสิต เมื่อบริษัทจัดการพิจารณา
แล้วมีความเห็นว่าผู้เช่ารายย่อยของอาคารโครงการ ฟิวเจอร์ พาร์ค รังสิต ในส่วนของพื้นที่ซึ่งกองทุนรวมจะเข้า
ลงทุนครั้งแรก ให้ความยินยอมในการโอนสิทธิและหน้าที่ภายใต้สัญญาเช่าและสัญญาให้สิทธิการใช้พื้นที่
รวมถึงสัญญาอื่นที่เกี่ยวข้องจากบริษัท รังสิต พลาซ่า จำกัด มายังกองทุนรวมในจำนวนไม่น้อยกว่าร้อยละ 95
ของพื้นที่ของผู้เช่าในส่วนของพื้นที่ซึ่งกองทุนรวมจะเข้าลงทุนครั้งแรกโดยไม่รวมพื้นที่ของผู้เช่าในพื้นที่
ส่วนกลาง ทั้งนี้ ภายในเวลาก่อนการเสนอขายหน่วยลงทุนต่อประชาชนตามรายละเอียดที่กำหนดในหนังสือ
ชี้ชวน หรือเมื่อบริษัทจัดการมีความเห็นว่าจำนวนผู้เช่าพื้นที่ที่ยังไม่ให้ความยินยอมจะไม่ก่อให้เกิดผลกระทบ
ต่อการประกอบธุรกิจของกองทุนรวม ทั้งนี้ การลงทุนดังกล่าวมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
              2.1 สิทธิการเช่าอาคารโครงการ ฟิวเจอร์ พาร์ค รังสิต บางส่วนจากบริษัท
รังสิตพลาซ่า จำกัด รวมเนื้อที่ประมาณ 52,573.09 ตารางเมตร ในระยะเวลานับแต่กองทุนรวมเข้าทำ
สัญญาเช่าอาคารกับบริษัท รังสิต พลาซ่า จำกัด จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2569 และบริษัท รังสิตพลาซ่า จำกัด
ได้ให้คำมั่นในการต่อสัญญาเช่าอาคารแก่กองทุนรวม เพื่อให้สิทธิแก่กองทุนรวมในการเช่าอาคารโครงการ
ฟิวเจอร์ พาร์ค รังสิต ออกไปอีกเป็นระยะเวลาเท่ากับระยะเวลาที่บริษัท พิพัฒนสิน จำกัด ตกลงต่ออายุสัญญา
เช่าที่ดิน นับแต่วันที่สัญญาดังกล่าวสิ้นสุดลง
               นอกจากนี้ กองทุนรวมมีสิทธิในการปฏิเสธก่อน (Right of First Refusal)
สำหรับการเช่าพื้นที่ภายใต้สัญญาเช่าแบบมีค่าตอบแทนสิทธิการเช่า (สัญญาเซ้ง) ทั้งหมดหรือบางส่วนจาก
บริษัท รังสิตพลาซ่า จำกัด เมื่อสัญญาเช่าดังกล่าวของผู้เช่าเดิมสิ้นสุดลง โดย ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2549
พื้นที่ภายใต้สัญญาเช่าแบบมี ค่าตอบแทนสิทธิการเช่าดังกล่าวมีจำนวน 122,741.05  ตารางเมตร
              2.2 สิทธิในการนำพื้นที่ส่วนกลางของอาคารโครงการฟิวเจอร์พาร์ครังสิต จำนวนทั้งสิ้น
48,190.51 ตารางเมตร และพื้นที่ผนังภายนอกอาคารของอาคารโครงการ ฟิวเจอร์ พาร์ค รังสิต
ตามที่กำหนดในสัญญาให้สิทธิใช้พื้นที่และหาประโยชน์ ออกหาประโยชน์ในรูปแบบของการให้เช่า ให้บริการ
ให้สิทธิใช้พื้นที่หรือรูปแบบอื่นใด ทั้งนี้ โดยที่การใช้พื้นที่และหาประโยชน์ดังกล่าวจะต้องสอดคล้องกับการประกอบ
ธุรกิจของอาคารโครงการ ฟิวเจอร์ พาร์ค รังสิต ในระยะเวลาก่อนวันที่กองทุนรวมเข้าลงทุนและเป็นไป
โดยคำนึงถึงความสะดวก ในการใช้ประโยชน์ในพื้นที่ส่วนกลางของผู้เช่ารายอื่นของอาคารโครงการ
ฟิวเจอร์ พาร์ค รังสิต ทั้งนี้ ณ วันก่อน วันที่กองทุนรวมเข้าลงทุน มีการนำพื้นที่ส่วนกลางออกหาประโยชน์
จำนวน 7,582.79 ตารางเมตร และมีการใช้พื้นที่ส่วนกลางอื่นเพื่อประโยชน์ในการอำนวยความสะดวกต่าง ๆ
แก่ผู้ใช้บริการของอาคารโครงการ ฟิวเจอร์ พาร์ค รังสิต อาทิ ส่วนพื้นทางเดิน เป็นต้น
                    อนึ่ง  กองทุนรวมจะมีสิทธิดังกล่าวในระยะเวลานับแต่วันที่กองทุนรวมเข้าลงทุน
ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2569 และบริษัท รังสิตพลาซ่า จำกัด ได้ให้คำมั่นในการต่อสัญญาให้สิทธิใช้พื้นที่และ
หาประโยชน์แก่กองทุนรวม เพื่อให้สิทธิแก่กองทุนรวมในการหาประโยชน์จากพื้นที่ส่วนกลางและพื้นที่ผนัง
ภายนอกบางส่วนของอาคารโครงการ ฟิวเจอร์ พาร์ค รังสิต ออกไปอีกเป็นระยะเวลาเท่ากับการต่อสัญญา
เช่าอาคาร ตามที่ระบุใน ข้อ 2.1 นับแต่วันที่สิทธิในการใช้พื้นที่ของกองทุนรวมสิ้นสุดลง
                  ทั้งนี้  เพื่อให้กองทุนรวมมีสิทธิในพื้นที่ซึ่งกองทุนรวมจะเข้าลงทุนครั้งแรกโดยสมบูรณ์
ตามกฎหมายกองทุนรวมและบริษัท รังสิตพลาซ่า จำกัด จะได้ดำเนินการให้มีการจดทะเบียนสิทธิการเช่า
ภายใต้สัญญาเช่าอาคาร และสิทธิการใช้พื้นที่บางส่วนของอาคารโครงการ ฟิวเจอร์ พาร์ค รังสิต จำนวน
7,582.79 ตารางเมตร  ภายใต้สัญญาให้สิทธิใช้พื้นที่และหาประโยชน์ต่อกรมที่ดิน

ข้อมูลการเช่าพื้นที่ของศูนย์การค้าฟิวเจอร์ พาร์ค รังสิต ที่กองทุนรวมจะเข้าลงทุนครั้งแรก :
         1.   รายได้ค่าเช่า
               -   ปี พ.ศ. 2546 :   472     ล้านบาท
               -   ปี พ.ศ. 2547 :   500     ล้านบาท
               -   ปี พ.ศ. 2548 :   551     ล้านบาท
               -   30 ก.ย. 2549 :  443     ล้านบาท
         2.  จำนวนผู้เช่าหลักทั้งหมด  ณ 31 ธันวาคม (ก)
              -   ปี พ.ศ. 2546 :   1   ราย
              -   ปี พ.ศ. 2547 :   2   ราย
              -  ปี พ.ศ. 2548 :   2   ราย
              -   30 ก.ย. 2549 :  3   ราย
         3.  จำนวนผู้เช่ารายย่อยทั้งหมด  ณ 31 ธันวาคม (ก)
               -  ปี พ.ศ. 2546 :   386     ราย
              -   ปี พ.ศ. 2547 :   388     ราย
              -  ปี พ.ศ. 2548 :   395     ราย
              -   30 ก.ย. 2549 :  454     ราย
         4.  พื้นที่ให้เช่า  ณ 31 ธันวาคม (ข)
              -  ปี พ.ศ. 2546 :   43,939  ตารางเมตร
              -  ปี พ.ศ. 2547 :   49,162  ตารางเมตร
              -  ปี พ.ศ. 2548 :   52,664  ตารางเมตร
             -   30 ก.ย. 2549 :  52,573  ตารางเมตร
         5.  อัตราการเช่าพื้นที่  ณ 31 ธันวาคม
              -  ปี พ.ศ. 2546 :   ร้อยละ  96.82
              -  ปี พ.ศ. 2547 :   ร้อยละ  97.05
              -   ปี พ.ศ. 2548 :   ร้อยละ  97.44
              -   30 ก.ย. 2549 :  ร้อยละ  95.19
         6.   ค่าเช่าเฉลี่ย (ค)
               -  ปี พ.ศ. 2546 :   672     บาท/ตารางเมตร
               -  ปี พ.ศ. 2547 :   706     บาท/ตารางเมตร
               -  ปี พ.ศ. 2548 :   746     บาท/ตารางเมตร
               -   30 ก.ย. 2549 :  794     บาท/ตารางเมตร
หมายเหตุ      (ก) ไม่รวมผู้เช่าพื้นที่ในพื้นที่ส่วนกลาง พื้นที่ส่งเสริมการขาย และโรงอาหาร
              (ข)  ปี 2549 มีการลดพื้นที่ของผู้เช่าหลัก  และนำมาปรับปรุงเป็นพื้นที่ให้เช่าแก่
ผู้เช่ารายย่อย ทำให้พื้นที่ให้เช่ารวมลดลง
              (ค)   ปี 2549  มีพื้นที่ว่างอยู่ระหว่างรอการปรับปรุง 1,074.63 ตร.ม. เท่ากับ
ร้อยละ 2.04 ของพื้นที่ให้เช่า
              (ง)   เป็นอัตราค่าเช่าเฉลี่ยของผู้เช่ารายย่อยทุกประเภท ยกเว้นผู้เช่าหลัก เช่น
EGV , FitnessFirst และ ผู้เช่าพื้นที่ส่งเสริมการขาย
                     ที่มา : บริษัท รังสิตพลาซ่า จำกัด

         ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2549 พื้นที่ของศูนย์การค้าฟิวเจอร์ พาร์ค รังสิต ที่กองทุนรวมจะเข้าลงทุน
ครั้งแรก มีอัตราการเช่าพื้นที่เฉลี่ยร้อยละ 95.18 โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
         1.    ผู้เช่าหลัก
                พื้นที่  8,640.76       ตารางเมตร  ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 16.43   ของพื้นที่ให้เช่า
         2.    ผู้เช่ารายย่อย
               พื้นที่     41,397.74    ตารางเมตร  ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 78.74   ของพื้นที่ให้เช่า
         3.    พื้นที่ว่าง (ก)
               พื้นที่     2,534.59     ตารางเมตร  ซึ่งคิดเป็นร้อยละ    4.82    ของพื้นที่ให้เช่า
          รวมพื้นที่ให้เช่า :  52,573.09  ตารางเมตร  ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 100.00  ของพื้นที่ให้เช่า
          อัตราการเช่าพื้นที่ :   คิดเป็นร้อยละ   95.18   ของพื้นที่ให้เช่า
          พื้นที่ส่วนกลาง :                        48,190.51     ตารางเมตร
          -   พื้นที่ที่ก่อให้เกิดรายได้      :           7,582.79     ตารางเมตร
          -    พื้นที่ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ :           40,607.72     ตารางเมตร
          อัตราค่าเช่าพื้นที่เฉลี่ย (ข) :                759    บาท / ตารางเมตร / เดือน
          จำนวนผู้เช่า (ค) :                       419     ราย
          รวมพื้นที่ที่ก่อให้เกิดรายได้ทั้งสิ้น :   60,155.88    ตารางเมตร

        หมายเหตุ (ก)  พื้นที่ว่างของศูนย์การค้าเป็นพื้นที่ที่อยู่ระหว่างรอการปรับปรุงจำนวน
                     1,074.63 ตารางเมตร เท่ากับร้อยละ 2.04
                (ข)  เป็นอัตราค่าเช่าเฉลี่ยของผู้เช่ารายย่อยทุกประเภท ยกเว้นผู้เช่าพื้นที่ส่งเสริมการขาย
                (ค)  ไม่รวมผู้เช่าพื้นที่ในพื้นที่ส่วนกลาง พื้นที่ส่งเสริมการขาย และโรงอาหาร
               ที่มา : บริษัท รังสิตพลาซ่า จำกัด

   ตารางต่อไปนี้แสดงข้อมูลของผู้เช่าพื้นที่เฉพาะในพื้นที่ซึ่งกองทุนรวมจะเข้าลงทุนครั้งแรก จำแนกตามประเภท
ธุรกิจของผู้เช่า ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2549
         1.   บริการด้านความบันเทิง
               พื้นที่     4,540.68  ตารางเมตร ซึ่งคิดเป็นร้อยละ    8.6  ของพื้นที่ให้เช่า
         2.   อาคารและเครื่องดื่ม
               พื้นที่     8,761.55  ตารางเมตร ซึ่งคิดเป็นร้อยละ    16.7 ของพื้นที่ให้เช่า
         3.   สินค้าแฟชั่น สุขภาพ และความงาม
               พื้นที่     11,746.76 ตารางเมตร  ซึ่งคิดเป็นร้อยละ    22.4 ของพื้นที่ให้เช่า
         4.   เฟอร์นิเจอร์
               พื้นที่     2,815.52  ตารางเมตร  ซึ่งคิดเป็นร้อยละ    5.4  ของพื้นที่ให้เช่า
         5.   คอมพิวเตอร์และโทรศัพท์มือถือ
               พื้นที่     6,381.33  ตารางเมตร  ซึ่งคิดเป็นร้อยละ    12.1 ของพื้นที่ให้เช่า
         6.   บริการต่างๆ
               พื้นที่     11,052.53 ตารางเมตร  ซึ่งคิดเป็นร้อยละ   21.0  ของพื้นที่ให้เช่า
         7.   ประเภทอื่นๆ
               พื้นที่     4,740.13  ตารางเมตร  ซึ่งคิดเป็นร้อยละ    9.0   ของพื้นที่ให้เช่า
         8.   พื้นที่ว่าง (Vacant)
              พื้นที่     2,534.59   ตารางเมตร  ซึ่งคิดเป็นร้อยละ    4.8     ของพื้นที่ให้เช่า
         รวม :        52,573.09  ตารางเมตร  ซึ่งคิดเป็นร้อยละ   100.00  ของพื้นที่ให้เช่า
        ที่มา : บริษัท รังสิตพลาซ่า จำกัด

พื้นที่ของผู้เช่าหลักเฉพาะในพื้นที่ซึ่งกองทุนรวมจะเข้าลงทุนครั้งแรก ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2549
         1.  บมจ.อีจีวี เอ็นเตอร์เทนเมนท์
              ชื่อร้านค้า :       EGV
              พื้นที่ :   4,540.68   ตารางเมตร ซึ่งคิดเป็นร้อยละ    8.63    ของพื้นที่ให้เช่า
         2.  บจก.ฟิตเนสเฟิร์สท (ประเทศไทย)
              ชื่อร้านค้า :       Fitness  First
              พื้นที่ :    2,740.00  ตารางเมตร ซึ่งคิดเป็นร้อยละ    5.21    ของพื้นที่ให้เช่า
         3.   บจก.ไอที ซิตี้
              ชื่อร้านค้า :       IT City
              พื้นที่ :    1,360.08    ตารางเมตร  ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 2.59    ของพื้นที่ให้เช่า
        รวมพื้นที่ของผู้เช่าหลัก :   8,640.76 ตารางเมตร  ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 16.43  ของพื้นที่ให้เช่า
        รวมพื้นที่ให้เช่า :      52,573.09  ตารางเมตร  ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 100.00 ของพื้นที่ให้เช่า
             ที่มา : บริษัท รังสิตพลาซ่า จำกัด

ตารางต่อไปนี้แสดงข้อมูลของจำนวนพื้นที่ภายใต้สัญญาเช่าที่จะครบระยะเวลาการเช่าเฉพาะในพื้นที่ซึ่ง
กองทุนรวมจะเข้าลงทุนครั้งแรก ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2549
         ปี พ.ศ. 2549 :พื้นที่ให้เช่าภายใต้ที่สัญญาเช่าที่จะครบกำหนด  (ก) 9,916   ตารางเมตร
                      ซึ่งคิดเป็นร้อยละ    19.8    ของพื้นที่ให้เช่า
         ปี พ.ศ. 2550 :พื้นที่ให้เช่าภายใต้ที่สัญญาเช่าที่จะครบกำหนด  (ก) 12,580  ตารางเมตร
                      ซึ่งคิดเป็นร้อยละ    25.1    ของพื้นที่ให้เช่า
         ปี พ.ศ. 2551 :พื้นที่ให้เช่าภายใต้ที่สัญญาเช่าที่จะครบกำหนด  (ก) 12,250  ตารางเมตร
                      ซึ่งคิดเป็นร้อยละ    24.5    ของพื้นที่ให้เช่า
         ปี พ.ศ. 2552 : พื้นที่ให้เช่าภายใต้ที่สัญญาเช่าที่จะครบกำหนด  (ก) 8,012   ตารางเมตร
                       ซึ่งคิดเป็นร้อยละ    16.0    ของพื้นที่ให้เช่า
         หลังปี พ.ศ. 2552 : พื้นที่ให้เช่าภายใต้ที่สัญญาเช่าที่จะครบกำหนด  (ก) 7,281 ตารางเมตร
                        ซึ่งคิดเป็นร้อยละ    14.6    ของพื้นที่ให้เช่า
         รวม  :  50,039  ตารางเมตร   ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 100.00  ของพื้นที่ให้เช่า

หมายเหตุ   (ก)   ไม่รวมพื้นที่ให้เช่าส่วนอื่น ได้แก่ พื้นที่ส่วนกลาง และโรงอาหาร เนื่องจากพื้นที่เช่า
                ดังกล่าวไม่ได้เป็นห้องเช่าลักษณะถาวร และสัญญาเช่าส่วนใหญ่เป็นสัญญาเช่าระยะสั้น
                (ไม่เกิน 3 ปี) เช่น สัญญาเช่ารายวัน รายเดือน หรือ 1 ปี เป็นต้น
               ที่มา : บริษัท รังสิตพลาซ่า จำกัด

รายละเอียดอาคารโครงการ ฟิวเจอร์ พาร์ค รังสิต
         -   ที่ดินที่ตั้งอาคารโครงการ ฟิวเจอร์ พาร์ค รังสิต
             ที่ดินโฉนดเลขที่ 310  และเลขที่ 92118 โดย บริษัท พิพัฒนสิน จำกัด มีฐานะเป็น
เจ้าของกรรมสิทธิ์ ซึ่งได้เข้าทำสัญญาเช่าที่ดิน กับบริษัท รังสิตพลาซ่า จำกัด
             ที่ดินทั้งหมด : 108 - 1 - 67.5 ไร่
         -   อาคารโครงการ ฟิวเจอร์ พาร์ค รังสิต
             บริษัท รังสิตพลาซ่า จำกัด มีฐานะเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์และมีสิทธิในการใช้ที่ดิน
โฉนดเลขที่ 310 และเลขที่ 92118 ภายใต้สัญญาเช่าระยะยาว
         -   พื้นที่ทั้งหมดของโครงการ  (1) :       499,269.04      ตารางเมตร
         -   พื้นที่ให้เช่าทั้งหมด :                 179,156.61      ตารางเมตร
         -   พื้นที่ซึ่งกองทุนรวมจะเข้าลงทุนครั้งแรก  (2) :52,573.09    ตารางเมตร
         -   สัดส่วนของพื้นที่ซึ่งกองทุนรวมจะเข้าลงทุนครั้งแรกต่อพื้นที่ให้
              เช่าทั้งหมดของอาคารโครงการฟิวเจอร์ พาร์ค รังสิต : คิดเป็นร้อยละ  29.34
         -   อัตราการเช่าพื้นที่ทั้งหมดของอาคารโครงการ ฟิวเจอร์ พาร์ค รังสิต : คิดเป็นร้อยละ 96.85
         -   อัตราการเช่าพื้นที่ของพื้นที่ซึ่งกองทุนรวมจะเข้าลงทุนครั้งแรก : คิดเป็นร้อยละ  95.18
            ที่มา : บริษัท รังสิตพลาซ่า จำกัด
หมายเหตุ:   (1) รวมพื้นที่ศูนย์การค้า พื้นที่จอดรถยนต์ภายในอาคาร และลานจอดรถยนต์ภายนอกอาคาร
           (2) ไม่รวมพื้นที่ส่วนกลางที่กองทุนรวมได้รับสิทธิในการหาผลประโยชน์
               จำนวน 48,190.51 ตารางเมตร

การจัดหาผลประโยชน์จากอสังหาริมทรัพย์ที่กองทุนรวมเข้าลงทุนครั้งแรก
         กองทุนรวมจะดำเนินการหาผลประโยชน์จากการลงทุนในสิทธิการเช่าและสิทธิการใช้ประโยชน์ใน
อาคารโครงการ ฟิวเจอร์ พาร์ค รังสิต โดยนำพื้นที่ในอาคารโครงการ ฟิวเจอร์ พาร์ค รังสิต ออกให้เช่า
แก่ผู้เช่าเพื่อประกอบธุรกิจต่าง ๆ ซึ่งรวมถึงโรงภาพยนตร์ สถานออกกำลังกาย ร้านจำหน่ายอาหารและเครื่องดื่ม
ร้านจำหน่ายสินค้าแฟชั่น สุขภาพ และความงาม ร้านจำหน่ายคอมพิวเตอร์และโทรศัพท์มือถือ ร้านเฟอร์นิเจอร์
สถาบันด้านการศึกษา และศูนย์รวมบริการต่างๆ  โดยกองทุนรวมจะดำเนินการทำสัญญาเช่าอาคารและ
สัญญาให้สิทธิใช้พื้นที่และหาประโยชน์ในรูปแบบที่เหมาะสม และก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อกองทุนรวม
         อย่างไรก็ดี ในวันที่กองทุนรวมเข้าทำสัญญาเช่าอาคารและสัญญาต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับอาคาร
โครงการ ฟิวเจอร์ พาร์ค รังสิต นั้น กองทุนรวมต้องรับโอนสิทธิและหน้าที่ภายใต้สัญญาเช่าและสัญญาให้สิทธิ
ในการใช้พื้นที่รวมถึงสัญญาอื่นที่เกี่ยวข้องจากบริษัท รังสิตพลาซ่า จำกัด ซึ่งมีฐานะเป็นผู้ให้เช่าและผู้ให้บริการ
รายเดิม โดยต้องได้รับความยินยอมจากคู่สัญญาภายใต้สัญญาดังกล่าว ทั้งนี้ กองทุนรวมคาดว่าผู้เช่าหรือผู้มีสิทธิใน
การใช้พื้นที่บางรายอาจไม่สามารถให้ความยินยอมแก่การรับโอนสิทธิและหน้าที่ของกองทุนรวมได้ภายใน
วันที่กองทุนรวมเข้าทำสัญญาเช่าและสัญญาต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับอาคารโครงการ ฟิวเจอร์ พาร์ค รังสิต
       ในกรณีดังกล่าว กองทุนรวมได้กำหนดให้ บริษัท รังสิตพลาซ่า จำกัด ต้องดำเนินการต่าง ๆ เพื่อให้ได้
รับความยินยอมจากผู้เช่าและผู้มีสิทธิในการใช้พื้นที่ดังกล่าวภายใน 1 ปีนับแต่วันที่กองทุนรวมเข้าทำสัญญา
เช่าอาคารและสัญญาต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับอาคารโครงการ ฟิวเจอร์ พาร์ค รังสิต โดยในระหว่างระยะเวลา
ดังกล่าว บริษัท รังสิต พลาซ่า จำกัดจะนำส่งผลประโยชน์ใด ๆ ที่ได้รับจากผู้เช่าหรือผู้รับสิทธิดังกล่าวให้แก่
กองทุนรวมนับแต่วันที่กองทุนรวมเข้าลงทุน โดย บริษัท รังสิตพลาซ่า จำกัด จะปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวจนกว่า
         (ก) ผู้เช่าดังกล่าวจะให้ความยินยอมแก่การรับโอนสิทธิและหน้าที่ของกองทุนรวมเป็นลายลักษณ์อักษร
หรือ
         (ข) สัญญาเช่าหรือสัญญาให้สิทธิการใช้พื้นที่ของผู้เช่าดังกล่าวสิ้นสุดลง แล้วแต่ระยะเวลาใดเกิดขึ้น
ภายหลัง

ข้อมูลสรุปราคาประเมินและประมาณการรายได้ข้างต้นของอาคารโครงการ ฟิวเจอร์ พาร์ค รังสิต
         อสังหาริมทรัพย์ที่กองทุนรวมจะเข้าลงทุนครั้งแรกมีมูลค่า  4,536,443,000 บาท
(รวมภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว) โดยมีราคาประเมินดังต่อไปนี้
         1.  ราคาประเมินรวม 5,111,000,000 บาท ณ วันที่ 1 สิงหาคม 2549
โดย บริษัท ซีบี ริชาร์ด เอลลิส (ประเทศไทย) จำกัด
         2.  ราคาประเมินรวม 4,626,000,000 บาท ณ วันที่ 1  ตุลาคม2549
โดย บริษัท อเมริกัน แอ๊พเพรซัล (ประเทศไทย) จำกัด
         ประมาณการรายได้ขั้นต้นปี 2549 (1 ธ.ค. - 31 ธ.ค. 2549) เท่ากับ 52.81 ล้านบาท
และประมาณการ รายได้ขั้นต้นปี 2550 (1 ม.ค. ? 31 ธ.ค. 2550) เท่ากับ 662.53 ล้านบาท
ทั้งนี้ ประมาณการรายได้ขั้นต้น ดังกล่าว เป็นการประมาณจากรายได้ค่าเช่าที่ได้รับตามสัญญาเช่าที่มีอยู่กับ
ผู้เช่าในพื้นที่ที่ให้เช่าในปัจจุบัน และรายได้อื่นจากอสังหาริมทรัพย์ ได้แก่ รายได้ค่าเช่าป้ายโฆษณา
และรายได้ค่าโฆษณา อย่างไรก็ตาม ประมาณการรายได้ขั้นต้นในปัจจุบันมิได้เป็นสิ่งยืนยันผลการ
ดำเนินงานในอนาคต

ประมาณการงบกำไรขาดทุนและการปันส่วนแบ่งกำไร
         สำหรับงวดหนึ่งเดือนตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 25 49 ถึงวันที่ ธันวาคม พ.ศ. 2549  และ
          สำหรับปีสิ้นสุด 31 ธันวาคม พ.ศ. 2550 และ พ.ศ. 2551
                      ประมาณการงวด       ประมาณการ          ประมาณการ
                      พ.ศ. 2549           ตามสมมติฐาน      ตามสมมติฐาน
                     สำหรับงวด 1 เดือน     ปี พ.ศ. 2550     ปี พ.ศ. 2551
                    (ตั้งแต่ 1 ธ.ค. 49 ?   (สำหรับปีที่สิ้นสุด       (สำหรับปีที่สิ้นสุด
                     31 ธ.ค. 49)       วันที่  31 ธ.ค. 50)   วันที่  31 ธ.ค. 51)
                       (ล้านบาท)         (ล้านบาท)            (ล้านบาท)
รายได้ขั้นต้น                52.81           662.53            688..39
ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวกับการบริหาร
   อสังหาริมทรัพย์          (8.09)          (100.94)          (104.09)
กำไรสุทธิของสินทรัพย์        44.72            561.59            584.30
ค่าธรรมเนียมการจัดการและ   (1.39)          (14.10)           (14.43)
ค่าใช้จ่ายในการบริหารกองทุนรวม
ค่าธรรมเนียมผู้บริหารอสังหาริมทรัพย์  (3.40)    (42.61)           (44.20)
ค่าใช้จ่ายในการออกและ
เสนอขายหน่วยลงทุนตัดจ่าย        (4.04)    (48.47)           (48.47)
กำไรสุทธิที่ยังไม่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลง
ในมูลค่ายุติธรรมของเงินลงทุน      112.15     123.61             120.12
ในอสังหาริมทรัพย์
กำไรสุทธิ                    148.04     580.02             597.32
บวก   ค่าใช้จ่ายในการออกและเสนอขาย
          หน่วยลงทุนตัดจ่าย     4.04      48.47              48.47
หัก กำไรสุทธิที่ยังไม่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลง
                          (112.15)    (123.61)         (120.12)
ในมูลค่ายุติธรรมของเงินลงทุนใน
อสังหาริมทรัพย์
กำไรสุทธิที่สามารถนำมาปันส่วนแบ่งกำไร  39.93   504.88         525.67
ประมาณการการปันส่วนแบ่งกำไร        35.94   454.39         473.10
ราคาเสนอขายหน่วยลงทุนครั้งแรก (บาท) 10.00    10.00          10.00
จำนวนหน่วยลงทุนที่ออก (ล้านหน่วย)    473.32   473.32          473.32
การปันส่วนแบ่งกำไรได้ต่อหน่วย (บาท)   0.08     0.96            1.00
อัตราผลตอบแทนต่อปี (ร้อยละ)         9.11     9.60           10.00
ที่มา :   ประมาณการงบกำไรขาดทุน ซึ่งจัดทำโดยบริษัทรังสิตพลาซ่า จำกัด และตรวจสอบโดยบริษัท
            ไพร้ซวอเตอร์เฮ้าส์ คู เปอร์ส เอบีเอเอส จำกัด
(โปรดศึกษารายละเอียดในภาคผนวกของหนังสือชี้ชวนส่วนข้อมูลโครงการ  ?  ประมาณการงบกำไรขาดทุน)

รายละเอียดของการประกันภัยในพื้นที่ซึ่งกองทุนรวมจะเข้าลงทุนครั้งแรก มีดังต่อไปนี้
         1.  การประกันเพื่อความรับผิดต่อบุคคลภายนอก (Public Liability Insurance)
              กองทุนรวมและบริษัท รังสิตพลาซ่า จำกัด ได้ร่วมกันเอาประกันภัยเพื่อความรับผิดต่อ
บุคคลภายนอกสำหรับอาคารโครงการ ฟิวเจอร์ พาร์ค รังสิต โดยกรมธรรม์ได้ให้ความคุ้มครองในกรณี
ที่กองทุนรวมและ/หรือบริษัท รังสิตพลาซ่า จำกัด ต้องรับผิดชำระค่าสินไหมทดแทนอันเกิดจากเหตุการณ์
ที่กำหนดในกรมธรรม์ต่อบุคคลภายนอกหรือผู้ใช้บริการอาคารโครงการ ฟิวเจอร์ พาร์ค รังสิต
         2.   การประกันภัยคุ้มครองสิทธิการเช่า
               กองทุนรวมได้เอาประกันภัยคุ้มครองสิทธิการเช่า โดยได้รับความคุ้มครองในกรณีที่
กองทุนรวมต้องสูญเสียสิทธิการเช่าก่อนสิ้นระยะเวลาที่ระบุในสัญญาเช่า ซึ่งจำนวนเงินเอาประกันสำหรับ
การประกันภัยคุ้มครองสิทธิการเช่าจะขึ้นอยู่กับมูลค่าสิทธิการเช่า ซึ่งเปลี่ยนแปลงไปตามระยะเวลาการเช่า
ที่เหลืออยู่ของสัญญาเช่า
         3.   การประกันภัยธุรกิจหยุดชะงัก
               กองทุนรวมเอาประกันภัยต่อความเสียหายจากการที่ธุรกิจของกองทุนรวมต้องหยุดชะงักลงจน
เป็นเหตุให้กองทุนรวมต้องขาดรายได้ตามที่ควรจะได้ โดยจำกัดค่าสินไหมทดแทนไว้สำหรับการหยุดชะงัก
ของธุรกิจเป็นระยะเวลาไม่เกิน 3 ปี นับแต่วันที่กองทุนรวมไม่สามารถประกอบธุรกิจต่อไปได้

การทำธุรกรรมของกองทุนรวมกับบุคคลที่เกี่ยวข้อง :
         1.   กองทุนรวมได้ลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ที่มีบริษัท รังสิตพลาซ่า จำกัด เป็นเจ้าของ เมื่อวันที่
24   พฤศจิกายน 2549
         2.    กองทุนรวมได้แต่งตั้งบริษัท รังสิตพลาซ่า จำกัด    เพื่อทำหน้าที่เป็นผู้บริหารอสังหาริมทรัพย์
ของกองทุนรวมสำหรับอสังหาริมทรัพย์ที่กองทุนรวมจะลงทุน  ซึ่งถือเป็นการทำธุรกรรมกับบุคคลที่
เกี่ยวข้องของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์
         3.   บริษัท รังสิตพลาซ่า จำกัด และ/หรือบุคคลที่เกี่ยวข้องของบริษัท รังสิตพลาซ่า จำกัดลงทุนใน
หน่วยลงทุนของกองทุนรวมเท่ากับร้อยละ 33.33 ของจำนวนหน่วยลงทุนที่เสนอขายทั้งหมด
         บริษัทจัดการจะลงทุนทั้งในอสังหาริมทรัพย์ที่สร้างเสร็จแล้ว  หรืออยู่ระหว่างการก่อสร้าง  โดยกรณี
ที่เป็นอสังหาริมทรัพย์ที่อยู่ระหว่างการก่อสร้างนั้น  กองทุนจะดำเนินการก่อสร้างและตกแต่งให้แล้วเสร็จ
และสำหรับอสังหาริมทรัพย์ที่สร้างเสร็จแล้ว  กองทุนอาจดำเนินการปรับปรุง หรือตกแต่งเพิ่มเติม เพื่อเป็น
การเพิ่มมูลค่าให้กับอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าว
         ทั้งนี้ การลงทุนและการจัดหาผลประโยชน์ในอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวข้างต้น  บริษัทจัดการจะถือว่า
ได้รับความเห็นชอบจากผู้ถือหน่วยลงทุนแล้ว โดยไม่จำเป็นต้องได้รับมติเสียงข้างมากของผู้ถือหน่วยลงทุน
รวมทั้งไม่จำเป็นต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการลงทุนของกองทุน
         นอกจากนี้ กองทุนอาจลงทุนในหลักทรัพย์อื่น และ/หรือการหาดอกผลอื่นโดยวิธีอื่นใด ตามประกาศ
คณะกรรมการ ก.ล.ต. ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. และประกาศอื่นที่เกี่ยวข้อง ทั้งที่มีผลใช้
บังคับอยู่ในปัจจุบันและที่จะได้แก้ไขเพิ่มเติมในภายหน้า

ความเสี่ยงในการลงทุนของกองทุนรวม
         การลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมที่เสนอขายในครั้งนี้มีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรพิจารณาข้อมูล
ในเอกสารฉบับนี้โดยรอบคอบโดยเฉพาะอย่างยิ่งปัจจัยความเสี่ยงดังรายละเอียดข้างท้ายนี้ก่อนตัดสินใจใน
การซื้อหน่วยลงทุนของกองทุนรวม
         ข้อความดังต่อไปนี้แสดงถึงปัจจัยความเสี่ยงที่มีนัยสำคัญบางประการอันอาจมีผลกระทบต่อกองทุนรวม
และมูลค่าหน่วยลงทุนของกองทุนรวม นอกเหนือจากปัจจัยความเสี่ยงที่ปรากฏในเอกสารฉบับนี้ อาจมี
ความเสี่ยงอื่นๆ ซึ่งกองทุนรวมไม่อาจทราบได้ในขณะนี้หรือเป็นความเสี่ยงที่กองทุนรวมพิจารณาในขณะนี้ว่า
ไม่เป็นสาระสำคัญ แต่ความเสี่ยงดังกล่าวอาจเป็นปัจจัยความเสี่ยงที่มีความสำคัญต่อไปในอนาคต ความเสี่ยง
ที่ปรากฏในเอกสารฉบับนี้และความเสี่ยงที่อาจมีขึ้นในอนาคตอาจมีผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อธุรกิจ
ผลการดำเนินงาน และสถานะทางการเงินของกองทุนรวม
         คำอธิบายเกี่ยวกับแนวทางการบริหารเพื่อลดความเสี่ยง มาตรการรองรับความเสี่ยง และ/หรือ
ความสามารถของกองทุนรวมในการลดความเสี่ยงข้อใดข้อหนึ่งไม่ถือเป็นคำรับรองของกองทุนรวมว่ากองทุนรวม
จะดำเนินมาตรการรองรับความเสี่ยงตามที่กำหนดไว้ได้ทั้งหมดหรือบางส่วนและไม่ถือเป็นข้อยืนยันว่าความเสี่ยง
ต่างๆ จะลดลงหรืออาจไม่เกิดขึ้น เนื่องจากความสำเร็จและ/หรือความสามารถในการลดความเสี่ยงยังขึ้นอยู่กับ
ปัจจัยหลายประการที่อยู่นอกเหนือจากการควบคุมของกองทุนรวม
         ข้อความในลักษณะที่เป็นการคาดการณ์ในอนาคต (Forward-Looking Statements) ที่ปรากฏ
ในเอกสารฉบับนี้ เช่น การใช้ถ้อยคำว่า "เชื่อว่า" "คาดหมายว่า" "คาดการณ์ว่า" "มีแผนจะ" "ตั้งใจ"
"ประมาณ" เป็น ต้น หรือประมาณการทางการเงิน โครงการในอนาคต การคาดการณ์เกี่ยวกับผลประกอบ
การธุรกิจ แผนการ ขยายธุรกิจ การเปลี่ยนแปลงของกฎหมายที่เกี่ยวข้องในการประกอบธุรกิจของกองทุนรวม
นโยบายของรัฐ และอื่น ๆ เป็นการคาดการณ์ถึงเหตุการณ์ในอนาคต อันเป็นความเห็นของกองทุนรวมในปัจจุบัน
และมิได้เป็น การรับรองผลการประกอบการหรือเหตุการณ์ในอนาคตดังกล่าว นอกจากนี้ ผลการดำเนินงานที่
เกิดขึ้นจริง กับการคาดการณ์หรือคาดคะเนอาจมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ
         บริษัทจัดการได้ดำเนินการศึกษาข้อมูลรายละเอียดของอาคารโครงการ ฟิวเจอร์ พาร์ค รังสิต
โดยตรวจสอบข้อมูลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง (Due Diligence) ก่อนการตัดสินใจเข้าลงทุน โดยบริษัทจัดการ
ได้ศึกษารายงานของผู้ประเมินราคาและรายงานทางวิศวกรรมของอาคารโครงการ ฟิวเจอร์ พาร์ค รังสิต
อย่างไรก็ดี การตรวจสอบข้อมูลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง (Due Diligence) ไม่ได้เป็นการรับประกันว่าอาคาร
โครงการ ฟิวเจอร์ พาร์ค รังสิต ไม่ มีความเสียหายหรือชำรุดบกพร่องอันอาจทำให้กองทุนรวมมีค่าใช้จ่าย
ในการปรับปรุงหรือซ่อมแซมในจำนวนที่สูงกว่าจำนวนที่ระบุในหนังสือชี้ชวนฉบับนี้
         นอกจากนี้ รายงานของผู้ประเมินราคาและรายงานทางวิศวกรรมของอาคารโครงการ ฟิวเจอร์ พาร์ค
รังสิต อาจมีข้อบกพร่องหรือไม่ถูกต้อง ทั้งหมดหรือบางส่วน อันเนื่องมาจากความบกพร่องของอาคารโครงการ
ฟิวเจอร์ พาร์ค รังสิต ที่ตรวจสอบได้ยากหรือไม่สามารถตรวจพบได้ และอาคารโครงการ ฟิวเจอร์ พาร์ค รังสิต
อาจมีการดำเนินการในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งที่เป็นการขัดหรือแย้งกับกฎหมายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องซึ่งการ
ตรวจสอบข้อมูลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง (Due Diligence) ไม่สามารถครอบคลุมถึงได้ซึ่งอาจส่งผลให้กองทุนรวม
มีค่าใช้จ่ายหรือความรับผิดอันเนื่องมาจากเหตุการณ์ดังกล่าว
         ข้อมูลในส่วนนี้ที่อ้างถึงหรือเกี่ยวข้องกับรัฐบาลหรือเศรษฐกิจในภาพรวมของประเทศเป็นข้อมูลที่ได้
มาจากข้อมูลที่มีการเปิดเผยหรือคัดย่อจากสิ่งพิมพ์ของรัฐบาลหรือจากแหล่งข้อมูลอื่น ๆ โดยที่กองทุนรวม
มิได้รับรองความถูกต้องของข้อมูลดังกล่าวแต่ประการใด
         1.   ความเสี่ยงของกองทุนรวมอันเนื่องมาจากปัจจัยภายนอก
              1.1   ความผันผวนทางเศรษฐกิจ การเปลี่ยนแปลงระบบเศรษฐกิจโดยรวมและการ
เปลี่ยนแปลงทางการเมืองภายในประเทศ หรือปัจจัยมหภาคอื่น ๆ อาจมีผลกระทบต่อรายได้ของกองทุนรวม
             กองทุนรวมจะเข้าลงทุนในอาคารโครงการ ฟิวเจอร์ พาร์ค รังสิต ซึ่งมีลักษณะเป็นอาคาร
ไลฟ์สไตล์ เอ็นเตอร์เทนเมนท์ คอมเพล็กซ์  การลงทุนในลักษณะดังกล่าวมีความเสี่ยงจากความผันผวนทาง
เศรษฐกิจของ ประเทศ การเปลี่ยนแปลงของระบบเศรษฐกิจโดยรวมและการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง
ภายในประเทศ และการ เปลี่ยนแปลงจากปัจจัยมหภาคอื่น ๆ เช่น การวางผังเมือง การเปลี่ยนแปลงทาง
โครงสร้างประชากร หรือการโยกย้าย ของชุมชน อันอาจส่งผลกระทบต่อความต้องการในการใช้บริการในอาคาร
โครงการ ฟิวเจอร์ พาร์ค รังสิต และ ส่งผลให้จำนวนผู้เช่าพื้นที่ และ/หรือผู้ใช้บริการของอาคารโครงการ
ฟิวเจอร์ พาร์ค รังสิต มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญ  ซึ่งอาจส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อธุรกิจ
ผลการดำเนินงาน สถานะทางการเงิน และการจ่าย เงินปันผลของกองทุนรวม
              1.2   การเปลี่ยนรูปแบบการดำเนินชีวิต (Lifestyle) ของผู้พักอาศัยในสังคมเมือง
อาจทำให้ผู้เช่าพื้นที่และ ผู้ใช้บริการในอาคารโครงการ ฟิวเจอร์ พาร์ค รังสิต มีจำนวนเปลี่ยนแปลงอย่าง
มีนัยสำคัญ อาคารโครงการ ฟิวเจอร์ พาร์ค รังสิต มีลักษณะเป็นอาคารไลฟ์สไตล์ เอ็นเตอร์เทนเมนท์
คอมเพล็กซ์ ที่สอดคล้องกับรูปแบบการดำเนินชีวิตของผู้พักอาศัยในสังคมเมืองในปัจจุบัน โดยเป็นศูนย์รวม
ความบันเทิงหลากหลายรูปแบบ โดยมีโรงภาพยนตร์ และบริการศูนย์ออกกำลังกาย พร้อมเสริมด้วยบริการ
บันเทิงอื่นอีกหลายประเภท อาทิ ร้านอาหาร และเครื่องดื่ม สินค้าแฟชั่น สุขภาพ และความงาม คอมพิวเตอร์
และโทรศัพท์มือถือ เป็นต้น เพื่ออำนวยความ สะดวกและนำเสนอบริการที่หลากหลายในการตอบสนอง
ความต้องการของกลุ่มลูกค้าที่ใช้บริการต่าง ๆ ของอาคารโครงการ ฟิวเจอร์ พาร์ค รังสิต
         ในกรณีที่ผู้พักอาศัยในสังคมเมืองเปลี่ยนแปลงรูปแบบการดำเนินชีวิต โดยลดความต้องการในการ
ใช้บริการประเภทต่าง ๆ ของอาคารโครงการ ฟิวเจอร์ พาร์ค รังสิต และในกรณีที่กองทุนรวมไม่สามารถ
เปลี่ยนแปลงลักษณะของอาคารโครงการ ฟิวเจอร์ พาร์ค รังสิต ให้สอดคล้องกับรูปแบบในการดำเนินชีวิต
ที่เปลี่ยนแปลงไปหรือกองทุนรวมไม่สามารถจัดหาผู้เช่ารายใหม่ที่ประกอบธุรกิจในรูปแบบที่สอดคล้องกับ
รูปแบบในการดำเนินชีวิตใหม่ได้ อาจส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อธุรกิจ ผลการดำเนินงาน และสถานะ
ทางการเงินของกองทุนรวม
           1.3  ภัยธรรมชาติ อุบัติภัย การก่อวินาศกรรมหรือเหตุการณ์อื่นที่กองทุนรวมไม่สามารถควบคุม
ได้อาจมีผลกระทบต่อการใช้ประโยชน์ในอาคารโครงการ ฟิวเจอร์ พาร์ค รังสิต และรายได้ของกองทุนรวม
          แม้ว่าอาคารโครงการ ฟิวเจอร์ พาร์ค รังสิต จะมีการก่อสร้าง การดำเนินงานและการบำรุง
รักษาเพื่อให้สามารถรองรับบางเหตุการณ์ที่อาจทำให้อาคารได้รับความเสียหาย หากแต่อาคารโครงการ
ฟิวเจอร์ พาร์ค รังสิต ไม่สามารถรองรับต่อภยันตรายที่อาจเกิดขึ้นได้ในทุกกรณี อาทิ ภัยร้ายแรงทางธรรมชาติ
เหตุการณ์ร้ายแรงอื่น ๆ อุบัติเหตุร้ายแรงอัคคีภัย การก่อการร้ายหรือเหตุการณ์ในทำนองเดียวกันที่กองทุนรวม
ไม่สามารถควบคุมได้
        นอกจากนี้ การซ่อมแซมที่จำเป็นใด ๆ เพื่อแก้ไขความเสียหายของอาคารโครงการ ฟิวเจอร์
พาร์ค รังสิต อาจมีค่าใช้จ่ายสูงและต้องใช้เวลานาน รวมถึงอาจทำให้กองทุนรวมสูญเสียรายได้ในจำนวนที่
มีนัยสำคัญในช่วงระยะเวลาดังกล่าวซึ่งทำให้การดำเนินงานของกองทุนรวมหยุดชะงัก รวมถึงเงินชดเชยที่
ได้จากการประกันภัยอาจ ไม่สามารถชดเชยความเสียหายได้ทั้งหมด และความเสี่ยงบางอย่างอาจไม่สามารถ
ทำประกันภัยได้ ในกรณีที่เกิด ความเสียหายในส่วนที่ไม่ได้รับความคุ้มครอง หรือความเสียหายดังกล่าวมีมูลค่า
มากกว่าวงเงินประกัน หรือ กองทุนรวมไม่สามารถเรียกเงินประกันได้อาจส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อธุรกิจ
ผลการดำเนินงาน และ สถานะทางการเงินของกองทุนรวม ดังนั้น เหตุการณ์ร้ายแรง และ/หรือความเสียหาย
ที่เกิดขึ้นต่ออาคารโครงการ ฟิวเจอร์ พาร์ค รังสิต อาจส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อธุรกิจ ผลการดำเนินงาน
และสถานะทางการเงินของกองทุนรวม
      อย่างไรก็ดี กองทุนรวมได้ดำเนินการให้ บริษัท รังสิตพลาซ่า จำกัด จัดให้มีการประกันภัยในอาคาร
โครงการ ฟิวเจอร์ พาร์ค รังสิต โดยมีความคุ้มครองและวงเงินประกันที่สอดคล้องกับมาตรฐานการประกันภัยของ
อาคารที่มีลักษณะและการใช้งานใกล้เคียงกันกับอาคารโครงการ ฟิวเจอร์ พาร์ค รังสิต รวมถึงได้จัดให้มีมาตรการ
ป้องกันเหตุการณ์ร้ายแรงบางประการที่อาจจะเกิดขึ้น อาทิ ภัยธรรมชาติ และอัคคีภัย  ไว้อย่างรัดกุม โดยได้จัด
ให้มีการซักซ้อมการดำเนินการตามมาตรการดังกล่าวอย่างสม่ำเสมอ นอกจากนี้ กองทุนรวมยังได้จัดให้มีประกันภัย
คุ้มครองสิทธิการเช่า และประกันภัยธุรกิจหยุดชะงัก (Business Interruption Insurance) เพื่อคุ้มครอง
ความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต
         2.  ปัจจัยความเสี่ยงทางด้านการดำเนินงานของอาคารโครงการ ฟิวเจอร์ พาร์ค รังสิต
          2.1  การแข่งขันที่สูงขึ้นอาจส่งผลให้ผู้เช่าพื้นที่และผู้ใช้บริการในอาคารโครงการ ฟิวเจอร์
พาร์ค รังสิต มีจำนวนลดลง
            รายได้หลักของกองทุนรวมจากการลงทุนในอาคารโครงการ ฟิวเจอร์ พาร์ค รังสิตมาจากการให้
บริการเช่าพื้นที่แก่ผู้ประกอบการต่าง ๆ
           หากในอนาคตการให้บริการเช่าพื้นที่อาคารไลฟ์สไตล์ เอ็นเตอร์เทนเมนท์ คอมเพล็กซ์ มีการแข่งขัน
ที่สูงขึ้นโดยผู้ประกอบการรายอื่นก่อสร้างอาคารขึ้นใหม่หรือปรับปรุงอาคารที่มีอยู่ให้มีลักษณะเป็นอาคารไลฟ์สไตล์
เอ็นเตอร์เทนเมนท์ คอมเพล็กซ์ ในบริเวณใกล้เคียงกันกับที่ตั้งของอาคารโครงการ ฟิวเจอร์ พาร์ค รังสิต
และกำหนดราคาค่าเช่าพื้นที่ และ/หรือบริการสาธารณูปโภคในอัตราใกล้เคียงกันหรือในอัตราที่ต่ำกว่าค่าเช่าและค่า
บริการสาธารณูปโภคของอาคารโครงการ ฟิวเจอร์ พาร์ค รังสิต อาจส่งผลให้ผู้ประกอบการต่าง ๆ ที่เป็นผู้เช่าพื้นที่
อาคารโครงการ ฟิวเจอร์ พาร์ค รังสิต อยู่ในปัจจุบัน หรืออาจเป็นผู้เช่าพื้นที่ของอาคารโครงการ ฟิวเจอร์ พาร์ค
รังสิต ในอนาคต และผู้ใช้บริการของอาคารโครงการ ฟิวเจอร์ พาร์ค รังสิต มีจำนวนเปลี่ยนแปลงไปซึ่งจะส่ง
ผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อผลประกอบการของอาคารโครงการศูนย์การค้า ฟิวเจอร์ พาร์ค รังสิต ธุรกิจ
ผลการดำเนินงานและสถานะทางการเงินของกองทุนรวมในท้ายที่สุด
         อย่างไรก็ดี  อาคารโครงการ ฟิวเจอร์ พาร์ค รังสิต มีร้านค้าชั้นนำเปิดให้บริการจำนวนมากได้แก่
ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล บิ๊กซีซูเปอร์เซ็นเตอร์ ท็อปส์ ซูเปอร์มาร์เก็ต สถานออกกำลังกาย
ฟิตเนส เฟิร์สท และโรงภาพยนตร์อีจีวี  เป็นผู้เช่าหลักที่ดึงดูดให้ผู้ประกอบการและลูกค้าเข้ามาเช่าพื้นที่และใช้บริการ
ต่าง ๆ ในอาคารโครงการ ฟิวเจอร์ พาร์ค รังสิต ซึ่งปัจจัยดังกล่าวจะช่วยเพิ่มความสามารถของอาคารโครงการ
ฟิวเจอร์ พาร์ค รังสิต ในการแข่งขันกับผู้ประกอบการรายอื่นได้ นอกจากนี้การลงทุนในลักษณะนี้จะต้องอยู่ในทำเลที่
เหมาะสมและใช้เงินลงทุนสูง  ประกอบกับต้องใช้ระยะเวลาก่อสร้างนาน จึงทำให้จำนวนคู่แข่งที่มีขนาดทัดเทียมกับ
โครงการ ฟิวเจอร์ พาร์ค รังสิต มีน้อยราย
         2.2   กรณีที่กองทุนรวมไม่สามารถใช้ประโยชน์ในทรัพย์ที่เช่าได้เนื่องจากผู้ให้เช่าไม่ปฏิบัติตามสัญญา
เช่าอาคาร และสัญญาให้สิทธิใช้พื้นที่และหาประโยชน์ หรือเหตุการณ์ใด ๆ ที่เกิดขึ้นต่อทรัพย์ที่เช่า อาจส่งผลให้
กองทุนรวมไม่สามารถหาประโยชน์จากอาคารโครงการ ฟิวเจอร์ พาร์ค รังสิต ได้ตามวัตถุประสงค์ในการลงทุน
         กองทุนรวมได้เข้าทำสัญญาเช่าอาคาร และสัญญาให้สิทธิใช้พื้นที่และหาประโยชน์ กับบริษัท รังสิต
พลาซ่า จำกัด และชำระค่าเช่าและค่าตอบแทนให้แก่บริษัท รังสิตพลาซ่า จำกัด ตามรายละเอียดที่กำหนดในสัญญา
ที่เกี่ยวข้อง แม้ว่าสัญญาดังกล่าวข้างต้นจะมีการจัดทำขึ้นโดยชอบด้วยกฎหมายและจะดำเนินการจดทะเบียนกับ
หน่วยงานที่เกี่ยวข้องตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด กองทุนรวมยังคงมีความเสี่ยงภายใต้สัญญาเช่าอาคารและ
การใช้ทรัพย์ที่เช่าบางประการ อาทิ บริษัท รังสิตพลาซ่า จำกัด ปฏิบัติผิดเงื่อนไขข้อใดข้อหนึ่งในสัญญาเช่าอาคาร
และสัญญาให้สิทธิใช้พื้นที่และหาประโยชน์ในส่วนที่เป็นสาระสำคัญและกองทุนรวมไม่สามารถใช้ประโยชน์ใน
ทรัพย์ที่เช่าได้ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดในสัญญาดังกล่าว
        ความเสี่ยงจากเหตุการณ์ดังกล่าวอาจส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อธุรกิจ ผลการดำเนินงาน และ
สถานะทางการเงินของกองทุนรวม อาทิ อาจส่งผลให้กองทุนรวมไม่สามารถใช้ประโยชน์ในพื้นที่ของอาคาร
โครงการ ฟิวเจอร์ พาร์ค รังสิต ได้ตามวัตถุประสงค์ในการลงทุน และรายได้ที่กองทุนรวมคาดว่าจะได้รับ
เปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญ ทั้งนี้ แม้ว่าบริษัท รังสิต พลาซ่า จำกัด ต้องชำระค่าเสียหายให้แก่กองทุนรวมตาม
หลักเกณฑ์ที่กำหนดในสัญญาเช่าอาคาร และสัญญาให้สิทธิใช้พื้นที่และหาประโยชน์ แต่ค่าเสียหายดังกล่าวอาจมีจำนวน
น้อยกว่ารายได้ของกองทุนรวมที่เปลี่ยนแปลงหรือมีจำนวนไม่เพียงพอต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจริง
        2.3   ความเสี่ยงในกรณีสัญญาเช่าที่ดินระงับสิ้นลงก่อนครบระยะเวลาที่กำหนด
          แม้ว่ากองทุนรวมจะได้ดำเนินการจดทะเบียนสิทธิการหาประโยชน์ในพื้นที่บางส่วนภายใต้สัญญาให้
สิทธิใช้พื้นที่และหาประโยชน์ จำนวน 7,582.79 ตารางเมตรตามกฎหมายแล้ว แต่เนื่องจากกองทุนรวมไม่สามารถ
จดทะเบียนสิทธิในการหาประโยชน์ในพื้นที่ส่วนกลางและผนังภายนอกอาคารของอาคารโครงการ ฟิวเจอร์ พาร์ค
รังสิต ภายใต้สัญญาให้สิทธิใช้พื้นที่และหาประโยชน์ในส่วนที่เหลือจำนวน 40,607.72 ตารางเมตรได้ ดังนั้น หาก
(ก) บริษัท รังสิตพลาซ่า จำกัด ปฏิบัติผิดสัญญาเช่าที่ดินซึ่งเป็นที่ตั้งของอาคารโครงการ ฟิวเจอร์ พาร์ค รังสิต
ตามรายละเอียดที่ระบุในสัญญาเช่าที่ดินและบริษัท พิพัฒนสิน จำกัด ใช้สิทธิในการบอกเลิกสัญญาเช่าดังกล่าวซึ่งส่งผล
ให้กรรมสิทธิ์ในอาคารโครงการ ฟิวเจอร์ พาร์ค รังสิต ตกเป็นของบริษัท พิพัฒนสิน จำกัด หรือบุคคลภายนอก หรือ
(ข) สัญญาเช่าที่ดินระงับสิ้นลงก่อนครบระยะเวลาที่กำหนดด้วยสาเหตุใดสาเหตุหนึ่งและกรรมสิทธิ์ในอาคารโครงการ
ฟิวเจอร์ พาร์ค รังสิต ตกเป็นของบริษัท พิพัฒนสิน จำกัด หรือบุคคลภายนอก อาจทำให้กองทุนรวมไม่สามารถใช้
ประโยชน์ในพื้นที่ส่วนกลางอื่น  นอกเหนือจากพื้นที่ที่นำไปจดทะเบียนสิทธิจำนวน 7,582.79 ตารางเมตรได้ครบถ้วน
ตามวัตถุประสงค์ของกองทุนรวม ซึ่งความเสี่ยงในกรณีดังกล่าวอาจส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อธุรกิจ ผลการ
ดำเนินงาน และสถานะทางการเงินของกองทุนรวม อาทิ อาจส่งผลให้กองทุนรวมไม่สามารถใช้ประโยชน์ในพื้นที่
ของอาคารโครงการ  ฟิวเจอร์ พาร์ค รังสิต ได้ตามวัตถุประสงค์ในการลงทุน และรายได้ที่กองทุนรวมคาดว่า
จะได้รับเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญ
        อย่างไรก็ดี เพื่อลดความเสี่ยงดังกล่าว กองทุนรวมได้ดำเนินการให้บริษัท พิพัฒนสิน จำกัด ตกลงเข้า
เป็นคู่สัญญาในสัญญาเช่าอาคาร และสัญญาให้สิทธิใช้พื้นที่และหาประโยชน์ ระหว่างกองทุนรวมกับบริษัท รังสิต
พลาซ่า จำกัด แทนบริษัท รังสิตพลาซ่า จำกัด ในกรณีที่บริษัท รังสิตพลาซ่า จำกัด ได้ปฏิบัติผิดนัดหรือผิดสัญญาตาม
ที่กำหนดในสัญญาเช่าที่ดินและบริษัท พิพัฒนสิน จำกัด ได้ดำเนินการบอกเลิกสัญญาเช่าโดยให้การเข้าเป็นคู่สัญญาเช่า
และคู่สัญญาให้สิทธิใช้พื้นที่และหาประโยชน์แทนบริษัท รังสิตพลาซ่า จำกัด มีผลเมื่อกองทุนรวมได้แจ้งให้บริษัท
พิพัฒนสิน จำกัด ทราบเป็นลายลักษณ์อักษร และบริษัท พิพัฒนสิน จำกัด ตกลงจะให้กองทุนรวมเช่าอาคารและมี
สิทธิในการได้ใช้ประโยชน์ในพื้นที่ของอาคารโครงการ ฟิวเจอร์ พาร์ค รังสิต ต่อไปตามเงื่อนไขต่าง ๆ ที่กำหนด
ในสัญญาดังกล่าวข้างต้นทุกประการ โดยกองทุนรวมไม่ต้องชำระค่าตอบแทนใด ๆ เพิ่มเติมให้แก่บริษัท พิพัฒนสิน
จำกัด นอกจากนี้ เพื่อประโยชน์ในการบริหารจัดการอาคารโครงการ ฟิวเจอร์ พาร์ค รังสิต กองทุนรวมและบริษัท
พิพัฒนสิน จำกัด อาจตกลงให้บุคคลภายนอกเข้าเป็นคู่สัญญาแทนบริษัท รังสิตพลาซ่า จำกัด ในสัญญาเช่าอาคาร
และสัญญาให้สิทธิใช้พื้นที่และหาประโยชน์
            2.4  การเวนคืนอาคารโครงการ ฟิวเจอร์ พาร์ค รังสิต ภายใต้กฎหมายว่าด้วยการ
เวนคืนที่ดินในระหว่างระยะเวลาการเช่าหรือระยะเวลาที่กองทุนรวมมีสิทธิในการใช้ประโยชน์ ทั้งหมดหรือ
ในส่วนที่เป็นสาระสำคัญ และกองทุนรวมไม่สามารถใช้ประโยชน์ในทรัพย์ที่เช่าได้ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนด
ในสัญญาเช่าอาคารอาจส่งผลกระทบต่อผลประกอบการของกองทุนรวม
       ในกรณีที่มีการเวนคืนอาคารโครงการ ฟิวเจอร์ พาร์ค รังสิต เกิดขึ้นก่อนครบกำหนดระยะเวลาการเช่า
หรือระยะเวลาที่กองทุนรวมมีสิทธิในการใช้ประโยชน์ ไม่ว่าทั้งหมดหรือในส่วนที่เป็นสาระสำคัญอาจส่งผลกระทบ
อย่างมีนัยสำคัญต่อธุรกิจ ผลการดำเนินงาน และสถานะทางการเงินของกองทุนรวม อาทิ อาจส่งผลให้กองทุนรวม
ไม่สามารถใช้ประโยชน์ในอาคารโครงการ ฟิวเจอร์ พาร์ค รังสิต ได้ตามวัตถุประสงค์ในการลงทุน และรายได้ที่
กองทุนรวมคาดว่าจะได้รับเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญ
        ทั้งนี้ หากมีเหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้น กองทุนรวมจะได้รับค่าเช่าชำระล่วงหน้าคืนจากผู้ให้เช่าตาม
สัดส่วนของระยะเวลาการเช่าคงเหลือ อย่างไรก็ดี จำนวนเงินที่กองทุนรวมได้รับคืนในกรณีดังกล่าวอาจไม่เพียงพอ
ต่อค่าเสียหายและค่าขาดประโยชน์จากการใช้ทรัพย์ที่เช่าตามวัตถุประสงค์ในการลงทุน
       2.5   ผู้เช่าพื้นที่ในอาคารโครงการ ฟิวเจอร์ พาร์ค รังสิต ไม่ชำระค่าเช่าหรือค่าบริการ ยกเลิกสัญญา
เช่าก่อนครบกำหนดระยะเวลาการเช่าหรือไม่ต่อสัญญาในกรณีที่สัญญาเช่าสิ้นสุดลง จะส่งผลกระทบต่อรายได้ของ
กองทุนรวมอย่างมีนัยสำคัญ
          กองทุนรวมจะเข้าลงทุนครั้งแรกในอาคารโครงการ ฟิวเจอร์ พาร์ค รังสิต โดยเข้าทำสัญญาเช่า
อาคาร โดยมีลักษณะเป็นสัญญาเช่าในระยะยาว โดยกองทุนรวมคาดว่าจะมีรายได้หลักจากการให้บริการเช่าพื้นที่
แก่ผู้ประกอบการต่าง ๆ ภายใต้สัญญาเช่าซึ่งมีกำหนดระยะเวลาที่แน่นอนและมีการเรียกเก็บค่าเช่าและค่าบริการ
เป็นรายเดือน
         หากผู้เช่าพื้นที่ประสบปัญหาทางการเงินและไม่สามารถชำระค่าเช่าพื้นที่ และ/หรือค่าบริการ
สาธารณูปโภคให้แก่กองทุนรวม และ/หรือมีการยกเลิกสัญญาเช่าก่อนครบกำหนดระยะเวลาที่กำหนด หรือการ
ไม่ต่ออายุสัญญาเช่า พื้นที่เมื่อสัญญาครบกำหนด รายได้ที่กองทุนรวมคาดว่าจะได้รับในแต่ละเดือนจะลดลงซึ่ง
จะมีผลกระทบอย่างมี นัยสำคัญต่อธุรกิจ ผลการดำเนินงาน และสถานะทางการเงินของกองทุนรวมในท้ายที่สุด
        อย่างไรก็ดี โดยปกติผู้เช่าพื้นที่ตกลงจะชำระเงินประกันการเช่าให้แก่กองทุนรวมเป็นมูลค่าเท่ากับ
ค่าเช่าที่ต้องชำระให้แก่กองทุนรวมจำนวน 3 ? 6 เดือน เพื่อเป็นการประกันความเสียหาย และกองทุนรวมจะคืน
ให้แก่ผู้เช่าโดยไม่มีดอกเบี้ยหลังจากสัญญาเช่าสิ้นสุดลงและไม่มีการต่อสัญญาเช่าอีก โดยผู้เช่าไม่ค้างชำระเงิน
หรือหนี้สินใด ๆ ตามสัญญาเช่า ทั้งนี้ กองทุนรวมมีสิทธิหักค่าเช่า ค่าเสียหาย และ/หรือหนี้สินใด ๆ ที่ผู้เช่าค้าง
ชำระ แก่กองทุนรวมจากเงินประกันการเช่าได้จนครบจำนวนค่าเช่า ค่าเสียหาย และ/หรือหนี้สินนั้น และหากผู้เช่า
บอกเลิก สัญญาเช่าก่อนเวลาที่กำหนดไว้ ให้ถือว่าผู้เช่าผิดสัญญาเช่าและยินยอมให้กองทุนรวมริบเงินประกันการเช่า
ทั้งหมด หรือเงินอื่นใดที่ผู้เช่าได้ชำระ และ/หรือมอบให้แก่กองทุนรวม  ดังนั้น การเก็บเงินประกันการเช่าและ
แนวทาง ในการบริหารสัญญาดังกล่าวจะส่งผลให้กองทุนรวมสามารถบริหารความเสี่ยงในกรณีที่ผู้เช่าค้างชำระค่า
เช่าได้ นอกจากนี้ หากผู้เช่า บอกเลิกสัญญาเช่าก่อนครบกำหนด กองทุนรวมอาจจัดหาผู้เช่าพื้นที่รายใหม่ โดยมีการ
กำหนด อัตราค่าเช่าในจำนวนที่สูงกว่าเดิม
       2.6  การซ่อมบำรุงใหญ่ และ/หรือปรับปรุงอาคารโครงการ ฟิวเจอร์ พาร์ค รังสิตอาจส่งผลกระทบ
ต่อการประกอบการและรายได้ของกองทุนรวม
       อาคารโครงการ ฟิวเจอร์ พาร์ค รังสิตจะต้องซ่อมแซม และ/หรือปรับปรุงให้ดูใหม่ ทันสมัยและ
สอดคล้องกับรูปแบบการดำเนินชีวิต (Lifestyle) ของผู้ใช้บริการอยู่เสมอ เพื่อส่งเสริมให้ผู้ประกอบการต่าง ๆ
เข้ามาเช่าพื้นที่ และเพื่อดำเนินการให้มีความต้องการใช้บริการต่าง ๆ ในอาคารโครงการ ฟิวเจอร์ พาร์ค รังสิต
อย่างต่อเนื่อง
       โดยปกติการปรับปรุงหรือการซ่อมแซมบำรุงรักษาประจำปีหรือการตรวจสอบและการซ่อมบำรุง
ย่อยจะไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อผลการดำเนินงานของอาคารโครงการ ฟิวเจอร์ พาร์ค รังสิต หากแต่การตรวจสอบ
และซ่อมบำรุงใหญ่ การซ่อมแซมในกรณีที่อาคารโครงการ ฟิวเจอร์ พาร์ค รังสิต มีความเสียหาย หรือการปรับปรุง
โครงสร้างหรือการเปลี่ยนแปลงภาพลักษณ์ภายนอกและภายในอาคารโครงการ ฟิวเจอร์ พาร์ค รังสิต รวมถึงการ
เปลี่ยนงานระบบสาธารณูปโภคของอาคารโครงการ ฟิวเจอร์ พาร์ค รังสิต ซึ่งอาจมีค่าใช้จ่ายสูง ดังนั้น การ
ตรวจสอบและซ่อมบำรุงใหญ่ การซ่อมแซมในกรณีที่อาคารโครงการ ฟิวเจอร์ พาร์ค รังสิต มีความเสียหาย
การปรับปรุงโครงสร้างหรือการเปลี่ยนแปลงภาพลักษณ์ภายนอกและภายในอาคารโครงการ ฟิวเจอร์ พาร์ค
รังสิต และการเปลี่ยนงานระบบสาธารณูปโภคของอาคารโครงการ ฟิวเจอร์ พาร์ค รังสิต อาจส่งผลกระทบ
อย่างมีนัยสำคัญต่อธุรกิจ ผลการดำเนินงาน และสถานะทางการเงินของกองทุนรวม
       อย่างไรก็ดี การปรับปรุงซ่อมแซมใหญ่หรือการปรับปรุงโครงสร้างหรือการเปลี่ยนแปลงภาพลักษณ์
ของอาคารโครงการ ฟิวเจอร์ พาร์ค รังสิต ที่อาจจะเกิดขึ้นนั้นย่อมส่งผลที่ดีในการประกอบการของอาคารโครงการ
ฟิวเจอร์ พาร์ค รังสิต ในระยะยาว นอกจากนี้ (เว้นแต่การซ่อมบำรุงใหญ่อันเนื่องมาจากเหตุฉุกเฉิน) กองทุนรวมจะ
ดำเนินการให้มีการวางแผนงาน กำหนดระยะเวลาล่วงหน้า ศึกษาผลกระทบต่อรายได้และประมาณการผลตอบแทน
ที่คาดว่าจะได้รับจากการปรับปรุงซ่อมแซมใหญ่ หรือการปรับปรุงโครงสร้างหรือการเปลี่ยนแปลงภาพลักษณ์ของ
อาคารโครงการ ฟิวเจอร์ พาร์ค รังสิต รวมถึงการเปลี่ยนงานระบบสาธารณูปโภคของอาคารโครงการ ฟิวเจอร์
พาร์ค รังสิต ทั้งนี้ เพื่อลดระยะเวลาในการดำเนินการและลดผลกระทบที่อาจมีขึ้นต่อการดำเนินธุรกิจของอาคาร
โครงการฟิวเจอร์ พาร์ค รังสิต ผู้ประกอบการและผู้ใช้บริการต่าง ๆ ในอาคารโครงการ ฟิวเจอร์ พาร์ค รังสิต
        2.7   การสูญเสียผู้เช่าหลักอาจทำให้รายได้ของกองทุนรวมเปลี่ยนแปลงไป
        อาคารโครงการ ฟิวเจอร์ พาร์ค รังสิต มีผู้เช่าหลักได้แก่ ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน ห้างสรรพสินค้า
เซ็นทรัล บิ๊กซีซูเปอร์เซ็นเตอร์ โดยผู้เช่าหลักมีการเช่าพื้นที่คิดเป็นร้อยละ 53.11 ของพื้นที่ให้เช่าทั้งหมดของ
อาคารโครงการ ฟิวเจอร์ พาร์ค รังสิต
         หากผู้เช่าหลักดังกล่าวยกเลิกสัญญาเช่าก่อนครบระยะเวลาที่กำหนดหรือไม่ต่ออายุสัญญาเช่าพื้นที่
เมื่อสัญญาครบกำหนดและบริษัท รังสิตพลาซ่า จำกัด ซึ่งเป็นเจ้าของอาคารโครงการ ฟิวเจอร์ พาร์ค รังสิต ไม่
สามารถหาผู้ประกอบการใหม่มาทดแทนผู้ประกอบการดังกล่าวได้ จะมีผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อธุรกิจ
ผลการดำเนินงาน และสถานะทางการเงินของกองทุนรวม เนื่องจากผู้เช่าหลักดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของจุดเด่น
ของโครงการ ฟิวเจอร์ พาร์ค รังสิต  ในการดึงดูดผู้บริโภคเข้ามาใช้บริการ อย่างไรก็ตามสัญญาของผู้ประกอบการ
เหล่านี้มีลักษณะเป็นสัญญาเช่าระยะยาว (สัญญาเซ้ง)
        2.8   ความขัดแย้งทางผลประโยชน์ของผู้บริหารอสังหาริมทรัพย์อาจทำให้รายได้ของกองทุนรวมลดลง
การที่ บริษัท รังสิตพลาซ่า จำกัด มีฐานะเป็น (ก) เจ้าของทรัพย์สินที่กองทุนรวมเช่าและทรัพย์สินที่กองทุนรวม
มีสิทธิในการใช้ประโยชน์  (ข) ผู้ถือหน่วยลงทุนรายใหญ่ของกองทุนรวม และ (ค) ผู้บริหารอสังหาริมทรัพย์
โดยมีหน้าที่หลักในการดูแลรักษาผลประโยชน์ของกองทุนรวมอันเกี่ยวเนื่องกับการบริหารจัดการอาคารโครงการ
ฟิวเจอร์ พาร์ค รังสิต ในเวลาเดียวกัน เป็นปัจจัยที่อาจก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ (Conflict of
Interest) ระหว่างกองทุนรวมกับบริษัท รังสิตพลาซ่า จำกัด ได้
        ดังนั้น กองทุนรวมได้จัดให้มีแนวทางการป้องกันความขัดแย้งทางผลประโยชน์ที่อาจมีขึ้นระหว่าง
บริษัท รังสิต พลาซ่า จำกัด กับกองทุนรวม เช่น ในกรณีที่มีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ บริษัท รังสิตพลาซ่า
จำกัด จะดำเนินการใดๆได้ก็ต่อเมื่อได้รับการอนุมัติจากบริษัทจัดการ หรือเป็นไปตามมติเห็นชอบจากผู้ถือ
หน่วยลงทุน เป็นต้น
       2.9 ความคุ้มครองจากกรมธรรม์ประกันภัยของกองทุนรวมอาจไม่ครอบคลุมความเสี่ยงจากการสูญเสีย
ได้ทั้งหมด
      การประกอบธุรกิจของกองทุนรวมมีความเสี่ยงด้านการดำเนินการและการใช้ประโยชน์ในอาคาร
โครงการ ฟิวเจอร์ พาร์ค รังสิต
      เนื่องจากกองทุนรวมอาจไม่สามารถจัดทำประกันภัยที่คุ้มครองความเสี่ยงบางประเภทที่อาจเกิดขึ้นได้
(หรือแม้ว่ากองทุนรวมสามารถจัดหาประกันภัยได้ แต่อัตราเบี้ยประกันอาจไม่คุ้มกับผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ
ที่กองทุนรวมอาจได้รับ) เช่น การเวนคืน เป็นต้น กองทุนรวมอาจมีความเสี่ยงจากความสูญเสียทางการเงินเมื่อ
เกิดเหตุการณ์ร้ายแรงที่ไม่ได้รับการคุ้มครองอย่างเพียงพอหรือไม่สามารถจัดให้มีการประกันภัยได้
       ทั้งนี้ กองทุนรวมได้ดำเนินการให้ บริษัท รังสิตพลาซ่า จำกัด จัดให้มีการประกันภัยในอาคารโครงการ
ฟิวเจอร์ พาร์ค รังสิตโดยมีความคุ้มครองและวงเงินประกันตามที่กองทุนเห็นว่ามีความเหมาะสมและสอดคล้อง
กับมาตรฐานการประกันภัยของอาคารซึ่งมีลักษณะการใช้งานที่ใกล้เคียงกันซึ่งได้แก่ ประกันความเสี่ยงภัย
ทรัพย์สิน (All Risk) ประกันความรับผิดต่อบุคคลภายนอก (Public Liabilities) นอกจากนี้
กองทุนรวมได้จัดให้มีประกันภัยคุ้มครองสิทธิการเช่า และการประกันภัยธุรกิจหยุดชะงัก (Business
Interruption Insurance) เพื่อคุ้มครองความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต
             2.10 ผลการดำเนินงานของกองทุนรวมอาจแตกต่างจากการประมาณการอย่างมีนัยสำคัญ
        ประมาณการทางการเงิน โครงการในอนาคต การคาดการณ์เกี่ยวกับผลประกอบธุรกิจ แผนการ
ขยายธุรกิจ การเปลี่ยนแปลงของกฎหมายที่เกี่ยวข้องในการประกอบธุรกิจของกองทุนรวม นโยบายของรัฐและ
อื่น ๆ ซึ่งเป็นการคาดการณ์ถึงเหตุการณ์ในอนาคต อันเป็นความเห็นของกองทุนรวมในปัจจุบันและมิได้เป็น
การรับรองผลการประกอบการหรือเหตุการณ์ในอนาคตดังกล่าว และเป็นการประมาณการดังกล่าวตั้งอยู่บน
ข้อสมมติฐานหลายประการซึ่งมีความไม่แน่นอน โดยอาจเกิดขึ้นหรือไม่ก็ได้และเป็นปัจจัยที่อยู่เหนือการ
ควบคุมของกองทุนรวม หากสมมติฐานดังกล่าวไม่เกิดขึ้นจริง การดำเนินการบางประการของกองทุนรวมย่อม
ไม่เป็นไปตามประมาณการที่ระบุไว้ และอาจส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานของกองทุนรวมที่เกิดขึ้นจริงกับ
การประมาณการมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ
         อย่างไรก็ดี กองทุนรวมได้ดำเนินการให้บริษัท ไพร้ซวอเตอร์เฮาส์คูเปอร์ส เอบีเอเอส จำกัด
เป็นผู้ตรวจสอบหลักฐานสนับสนุนสมมติฐานที่ใช้ในการจัดทำประมาณการ โดยบริษัท ไพร้ซวอเตอร์เฮาส์
คูเปอร์ส เอบีเอเอส จำกัด ไม่พบสิ่งที่เป็นเหตุให้เชื่อว่าสมมติฐานดังกล่าวไม่สมเหตุสมผล และกองทุนรวม
เชื่อว่าประมาณการดังกล่าวได้จัดทำขึ้นอย่างรอบคอบและเหมาะสมแล้ว
             2.11  ความสามารถในการจ่ายเงินปันผลขึ้นอยู่กับปัจจัยต่าง ๆ หลายประการที่อยู่
นอกเหนือการควบคุมของกองทุนรวม
         กองทุนรวมมีนโยบายการจ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหน่วยจากกำไรสุทธิในแต่ละปีในจำนวน
ไม่น้อยกว่าร้อยละ 90 ของกำไรสุทธิประจำปีหรือจากกำไรสะสม
         ในกรณีที่กองทุนรวมมีผลประกอบการขาดทุนในรอบปีใดรอบปีหนึ่ง ซึ่งอาจเกิดจากการ
ดำเนินการของกองทุนรวมโดยตรง หรือจากปัจจัยอื่นที่อยู่นอกเหนือความควบคุมของกองทุนรวม อาทิ
ปัจจัยทางการเมือง ภาวะเศรษฐกิจในประเทศและต่างประเทศตกต่ำ หรือการเปลี่ยนแปลงกฎหมายที่
เกี่ยวกับการดำเนินธุรกิจหรือการถือครองอสังหาริมทรัพย์ของกองทุนรวม กองทุนรวมอาจไม่สามารถจ่าย
เงินปันผลให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุนได้ตามประมาณการ
         3.   ปัจจัยความเสี่ยงจากการลงทุนในหน่วยลงทุน
               3.1 มูลค่าหน่วยลงทุนของกองทุนรวมอาจมีการเปลี่ยนแปลงภายหลังจากการ
เสนอขายครั้งแรก หน่วยลงทุนของกองทุนรวมเป็นหลักทรัพย์ที่จดทะเบียนและมีการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์
แห่งประเทศไทยซึ่งอาจมีการซื้อขายในราคาที่สูงหรือต่ำกว่าราคาที่เสนอขายครั้งแรก โดยขึ้นอยู่กับปัจจัย
หลายประการ อาทิ การเปลี่ยนแปลงของอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก ผลประกอบการของกองทุนรวมไม่เป็นไปตามที่
ประมาณการไว้ ความผันผวนของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ความต้องการซื้อขายหน่วยลงทุนของผู้ลงทุน
และ ปริมาณการซื้อขายหน่วยลงทุนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เป็นต้น
               3.2 กองทุนรวมลงทุนในสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ซึ่งมูลค่าอาจลดลงตามระยะ
เวลาการเช่าที่เหลืออยู่
             กองทุนรวมลงทุนในสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ซึ่งมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวมอาจ
ลดลงตามระยะเวลาการเช่าที่เหลืออยู่ อันเนื่องมาจากการประเมินค่าสิทธิการเช่า การเปลี่ยนแปลงในอัตรา
การเช่าพื้นที่ และ/หรืออัตราค่าเช่าในอาคารโครงการ ฟิวเจอร์ พาร์ค รังสิต หรือเนื่องจากสาเหตุอื่นใดที่อยู่
นอกเหนือการควบคุมของกองทุนรวม ทั้งนี้ การเปลี่ยนแปลงในมูลค่าสิทธิการเช่าดังกล่าวอาจส่งผลกระทบ
อย่างมีนัยสำคัญต่อมูลค่าทรัพย์สิน และมูลค่าหน่วยลงทุนสุทธิของกองทุนรวม
              3.3 การเปลี่ยนแปลงมาตรฐานทางบัญชีอาจส่งผลให้รายงานฐานะทางการเงินของ
กองทุนรวมเปลี่ยนแปลง
             รายงานฐานะทางการเงินของกองทุนรวมอาจได้รับผลกระทบจากการออกมาตรฐานทางบัญชี
ฉบับใหม่ หรือมีการปรับปรุงมาตรฐานทางบัญชี เนื้อหาสาระที่จะมีการเปลี่ยนแปลงในมาตรฐานทางบัญชี
ไม่อาจคาดหมายได้ ผู้จัดการกองทุนรวมไม่สามารถประเมินผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวได้
นอกจากนี้ นักลงทุนควรพึงตระหนักด้วยว่ามาตรฐานบัญชีของกองทุนรวมมีลักษณะบางประการที่แตกต่าง
จากมาตรฐานบัญชีของนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด หรือบริษัทมหาชนจำกัด อาทิ ไม่มีการตัดค่าเสื่อมราคา
ของสิทธิการเช่า เป็นต้น
                   กองทุนรวมไม่สามารถคาดหมายรายละเอียดของการบังคับใช้มาตรฐานทางบัญชีฉบับใหม่
การแก้ไขเปลี่ยนแปลงมาตรฐานทางบัญชีต่าง ๆ ที่มีอยู่ในปัจจุบันหรือการเพิ่มความเข้มงวดในการปฏิบัติ
ตามมาตรฐานทางบัญชี และไม่สามารถประเมินผลกระทบต่อรายงานฐานะทางการเงินของกองทุนรวมจาก
กรณีดังกล่าว รวมถึงไม่สามารถคาดหมายได้ว่ากรณีดังกล่าวจะไม่เกิดผลกระทบต่อการเสนอรายงานฐานะ
ทางการเงินหรือผลการดำเนินงานของกองทุนรวม
             3.4   การขาดสภาพคล่องในการซื้อขายหน่วยลงทุนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
            เนื่องจากกองทุนรวมเป็นกองทุนรวมประเภทกองทุนปิดซึ่งจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์
แห่งประเทศไทย สภาพคล่องในการซื้อขายหน่วยลงทุนจะประเมินจากความถี่และปริมาณการซื้อขาย
หน่วยลงทุนนั้นในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ซึ่งอยู่บนพื้นฐานของปริมาณความต้องการของ
ผู้ซื้อ-ผู้ขาย (bid-offer) ซึ่งปริมาณความต้องการของผู้ซื้อ-ผู้ขาย (bid-offer) ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ
ที่กองทุนรวมไม่สามารถควบคุมได้ อาทิ  ปริมาณความต้องการของตลาด ดังนั้น จึงมีความเสี่ยงที่หน่วยลงทุน
นี้จะขาดสภาพคล่องในการซื้อขาย
             3.5  มูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนอาจไม่สัมพันธ์กับมูลค่าที่ได้จากการจำหน่ายทรัพย์สิน
หรือเลิกกองทุน
            มูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวมซึ่งได้กล่าวไว้ ณ ที่นี้ ได้คำนวณโดยใช้ข้อมูลจากรายงานการ
ประเมินค่าทรัพย์สินฉบับล่าสุดเป็นข้อมูลพื้นฐาน และมูลค่าดังกล่าวอาจมิได้เป็นมูลค่าที่แท้จริงซึ่งกองทุนรวม
จะได้รับหากมีการจำหน่ายทรัพย์สิน หรือมีการเลิกกองทุนรวม

ภาวะอุตสาหกรรมและการแข่งขัน
         โปรดศึกษารายละเอียดในภาคผนวกของหนังสือชี้ชวนส่วนข้อมูลโครงการ ? "รายงานการศึกษาภาวะ
อุตสาหกรรมพื้นที่ค้าปลีก  บริษัท รังสิตพลาซ่า จำกัด"

การลงทุนในอนาคต
         สำหรับการลงทุนในอนาคต  บริษัทจัดการจะมุ่งเน้นการลงทุนโดยการรับโอนกรรมสิทธิ์  และ/หรือสิทธิ
การเช่าในอสังหาริมทรัพย์เพื่อการพาณิชย์ (Commercial  Property)  หรืออสังหาริมทรัพย์ประเภทอื่นใด โดย
ในเบื้องต้นจะมุ่งเน้นการลงทุนใน หรือมีไว้ซึ่งอสังหาริมทรัพย์ประเภทศูนย์การค้า และ/หรือ อสังหาริมทรัพย์
ประเภทค้าปลีก ที่บริษัท รังสิต พลาซ่า จำกัด และ/หรือ บุคคลที่เกี่ยวข้องมีกรรมสิทธิ์ และ/หรือ  สิทธิครอบครอง
ทั้งที่มีอยู่ในปัจจุบัน และจะได้มีขึ้นในอนาคต  โดยกองทุนรวมจะได้รับสิทธิในการปฏิเสธก่อน (Right of First
Refusal) ในการซื้อ และ/หรือ รับโอนกรรมสิทธิ์  และ/หรือ รับโอนสิทธิครอบครองจาก บริษัท รังสิตพลาซ่า จำกัด

การเลิกโครงการ
         กองทุนรวมจะเลิกเมื่อเกิดกรณีใดกรณีหนึ่งดังต่อไปนี้
         (1)  เมื่อจำนวนผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมซึ่งเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์
แห่งประเทศไทยลดลงเหลือน้อยกว่า 10 ราย
         (2)  เมื่อสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. สั่งให้บริษัทจัดการเลิกกองทุนรวม เนื่องจากบริษัทจัดการ
กระทำการหรืองดเว้นกระทำการจนก่อให้เกิดความเสียหายแก่กองทุนรวม
         (3)   เมื่อได้รับมติโดยเสียงข้างมากจากผู้ถือหน่วยลงทุนซึ่งคิดตามจำนวนหน่วยลงทุนที่จำหน่ายได้แล้ว
ทั้งหมดของกองทุนรวม
         (4)   เมื่อครบกำหนดอายุโครงการ (ถ้ามี)

เงื่อนไขเพิ่มเติมในการเลิกโครงการ:
         -  มติโดยเสียงข้างมากจากผู้ถือหน่วยลงทุน คือ มติของผู้ถือหน่วยลงทุน ซึ่งถือหน่วยลงทุนรวมกันเกิน
กึ่งหนึ่งของจำนวนหน่วยลงทุนที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมด
         -   เมื่อเกิดกรณีต่างๆ จนเป็นเหตุให้ผู้จัดการกองทุนเห็นสมควรให้มีการเลิกกองทุนรวม เช่น กองทุนขาด
สภาพคล่องและไม่สามารถเพิ่มเงินทุนได้ตามจำนวนที่ต้องการ  กองทุนไม่สามารถดำรงสัดส่วนการลงทุนใน
อสังหาริมทรัพย์หรือสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ตามที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. ประกาศกำหนด  บริษัทจัดการ
ลาออกและไม่สามารถหาบริษัทจัดการอื่นมารับหน้าที่แทนได้ในระยะเวลาตามที่ระบุในโครงการ / หนังสือชี้ชวน
ข้อ 21.1.3  เป็นต้น
         -  บริษัทจัดการอาจพิจารณาให้เลิกกองทุนรวมได้ โดยถือว่าได้รับความเห็นชอบจากผู้ถือหน่วยลงทุนแล้ว
เมื่อบริษัทจัดการเห็นว่าอสังหาริมทรัพย์ที่กองทุนลงทุน มีมูลค่ารวมกันแล้วอาจไม่ถึงร้อยละ 75 ของมูลค่า
ทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวมภายในรอบระยะเวลาบัญชีประจำปีใดๆ หรือมูลค่าของอสังหาริมทรัพย์ที่
กองทุนรวมจะลงทุนอาจจะไม่เป็นไปตามกฎหมายหลักทรัพย์
         -   ในกรณีที่บริษัทจัดการได้รับคำสั่งให้เลิกกองทุนจากหน่วยงานที่มีอำนาจตามกฎหมาย อาทิเช่น
สำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. หรือคำสั่งศาล เป็นต้น และ/หรือในกรณีที่หากปรากฏเหตุการณ์ตามที่ระบุไว้
ในโครงการ /หนังสือชี้ชวนข้อ 21.1.1 "สิทธิของบริษัทจัดการ" หรือข้อ 21.1.3 "เงื่อนไขการเปลี่ยนบริษัทจัดการ"

การดำเนินการเมื่อมีการเลิกกิจการ
         เมื่อเลิกกองทุนรวมแล้ว บริษัทจัดการจะจัดให้มีผู้ชำระบัญชีที่สำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. เห็นชอบ
เป็นผู้ชำระบัญชีเพื่อทำหน้าที่จำหน่ายทรัพย์สินของกองทุนรวม ชำระภาระหนี้สินของกองทุนรวม รวบรวม
และแจกจ่ายเงินหรือทรัพย์สินคืนให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุนเฉลี่ยตามจำนวนหน่วยลงทุนที่ผู้ถือหน่วยลงทุนแต่ละราย
ถืออยู่ตามสมุดทะเบียนผู้ถือหน่วยลงทุน รวมทั้งทำการอย่างอื่นที่จำเป็นเพื่อให้การชำระบัญชีเสร็จสิ้น ทั้งนี้ ตาม
หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. ประกาศกำหนด เมื่อชำระบัญชีเสร็จสิ้นแล้ว ผู้ชำระบัญชี
จะขอจดทะเบียนเลิกกองทุนรวมต่อสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. และหากปรากฏว่ามีทรัพย์สินคงค้างอยู่ให้
ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต.

ผู้ดูแลผลประโยชน์
         ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน)
         เลขที่   3000   ถนนพหลโยธิน เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900
         โทรศัพท์   (02) 299-1111

ค่าธรรมเนียม :
         ในอัตราไม่เกินร้อยละ 0.50 ต่อปีของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน
         ค่าธรรมเนียมตามวรรคหนึ่งข้างต้น จะไม่รวมถึงค่าที่ปรึกษากฎหมาย และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ
ในอัตราไม่เกิน300,000 บาท  ต่อครั้ง  ทั้งนี้ ผู้ดูแลผลประโยชน์สามารถเบิกค่าใช้จ่ายอื่นๆ ในการไปตรวจสอบ
ทรัพย์สินจากกองทุนได้ เช่น ค่าใช้จ่ายในการเดินทาง ค่าที่พัก และค่าธรรมเนียมต่าง ๆ เป็นต้น
ในอัตราไม่เกิน 30,000 บาท ต่อครั้ง

ผู้บริหารอสังหาริมทรัพย์
         บริษัท รังสิตพลาซ่า จำกัด
         เลขที่ 94  ชั้น 3 อาคารฟิวเจอร์ พาร์ค รังสิต
         ถนนพหลโยธิน ตำบลประชาธิปัตย์ อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี
         โทรศัพท์  (02) 958-0011

นายทะเบียน
         บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ไอเอ็นจี (ประเทศไทย) จำกัด
         เลขที่ 130 - 132 อาคารสินธรทาวเวอร์ 3 ชั้น 15, 17 และ 18
         ถนนวิทยุ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330
         โทรศัพท์ (02) 688-7777

ผู้สอบบัญชี
         นาย ขจรเกียรติ อรุณไพโรจนกุล และ/หรือ นายบุญมี งดงามวงศ์
         บริษัท ไพร้ซวอเตอร์เฮ้าส์คูเปอร์ส เอบีเอเอส จำกัด
         ชั้น 15 อาคารบางกอกซิตี้ทาวเวอร์ เลขที่ 179/74-80
         ถนนสาทรใต้  แขวงทุ่งมหาเมฆ เขตสาทร  กรุงเทพมหานคร 10120
         โทรศัพท์ (02) 286-9999

รอบระยะเวลาบัญชี
         รอบระยะเวลาบัญชี  :    1 มกราคม - 31 ธันวาคม
         วันที่สิ้นสุดรอบบัญชีครั้งแรก  :    31 ธันวาคม 2549

นโยบายการจ่ายเงินปันผล
         ข้อกำหนด นโยบายและวิธีการจ่ายเงินปันผลแก่ผู้ถือหน่วยลงทุน
         โครงการมีนโยบายการจ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุนอย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง
         (1) ในกรณีที่กองทุนรวมมีกำไรสุทธิในแต่ละปี  บริษัทจัดการจะจ่ายเงินปันผลแก่ผู้ถือหน่วยลงทุนไม่
น้อยกว่าร้อยละ 90 ของกำไรสุทธิประจำปี
         (2)  ในกรณีที่กองทุนรวมมีกำไรสะสม  บริษัทจัดการอาจจ่ายเงินปันผลแก่ผู้ถือหน่วยลงทุนจาก
กำไรสะสมได้ ทั้งนี้ กำไรสุทธิ และกำไรสะสม ดังกล่าวข้างต้น  เป็นกำไรสุทธิ และกำไรสะสมที่เกิดขึ้นจริง
ที่ไม่รวมรายการดังต่อไปนี้
             1. กำไรหรือขาดทุนที่ยังไม่เกิดขึ้นจริงจากการประเมินราคาอสังหาริมทรัพย์ หลักทรัพย์
และ/หรือ ทรัพย์สินของกองทุนรวม
             2. รายจ่ายในการเสนอขายครั้งแรกและครั้งต่อๆไป (ถ้ามี) ที่ได้บันทึกเป็นค่าใช้จ่ายรอการตัดบัญชี
และทยอยตัดเป็นค่าใช้จ่ายตลอดระยะเวลาที่คาดว่าจะได้รับประโยชน์จากรายจ่ายนั้น
             บริษัทจัดการจะดำเนินการจ่ายเงินปันผลดังกล่าวให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุนภายใน 90 วันนับแต่วันสิ้น
งวดปีบัญชีหรืองวดการดำเนินงานอื่นใดที่จะจ่ายเงินปันผล โดยกรณีที่บริษัทจัดการไม่สามารถจ่ายเงินปันผล
ในระยะเวลาดังกล่าว บริษัทจัดการจะแจ้งให้สำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. และผู้ถือหน่วยลงทุนทราบเป็น
ลายลักษณ์อักษร

เงื่อนไขเพิ่มเติม :
         ในการพิจารณาจ่ายเงินปันผล  ถ้าเงินปันผลที่จะประกาศจ่ายต่อหน่วยลงทุนระหว่างปีบัญชีมีมูลค่าต่ำกว่า
หรือเท่ากับ 0.10 บาท บริษัทจัดการสงวนสิทธิที่จะไม่จ่ายเงินปันผลในครั้งนั้นและให้ยกไปจ่ายเงินปันผล
พร้อมกันในงวดสิ้นปีบัญชี
         สำหรับหลักเกณฑ์ในการจ่ายปันผล บริษัทจัดการจะดำเนินการให้เป็นไปตามที่ระบุไว้ เว้นแต่กรณีที่
คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์   สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาด
หลักทรัพย์ และ/หรือหน่วยงานอื่นใดที่มีอำนาจตามกฎหมาย ได้แก้ไขเปลี่ยนแปลง เพิ่มเติม ประกาศ กำหนด
สั่งการ เห็นชอบ และ/หรือผ่อนผันเป็นอย่างอื่น บริษัทจัดการจะดำเนินการให้เป็นไปตามนั้นโดยถือว่าได้รับ
ความเห็นชอบจากผู้ถือหน่วยลงทุนแล้ว

เงื่อนไข และวิธีการจ่ายเงินปันผลแก่ผู้ถือหน่วยลงทุน
         (1)   บริษัทจัดการจะประกาศการจ่ายเงินปันผล วันปิดสมุดทะเบียน และอัตราเงินปันผล โดย
                1.  ประกาศในหนังสือพิมพ์รายวันอย่างน้อย 1 ฉบับ
                2.   ปิดประกาศไว้ในที่เปิดเผย ณ ที่ทำการทุกแห่งของบริษัทจัดการ และจัดให้มีประกาศดัง
กล่าวไว้ที่ตัวแทน
                3.   ส่งหนังสือแจ้ง ผู้ถือหน่วยที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนผู้ถือหน่วย ณ วันปิดสมุดทะเบียน และผู้ดูแล
ผลประโยชน์  และตลาดหลักทรัพย์
         (2)   บริษัทจัดการจะจ่ายเงินปันผลเป็นเงินโอนเข้าบัญชีเงินฝากของผู้ถือหน่วยลงทุน หรือ เป็นเช็ค
ขีดคร่อมเฉพาะสั่งจ่ายในนามผู้ถือหน่วยลงทุนตามชื่อและที่อยู่ที่ปรากฎในสมุดทะเบียนผู้ถือหน่วยลงทุน
         (3)  ในกรณีที่ผู้ถือหน่วยลงทุนไม่ใช้สิทธิขอรับเงินปันผลจำนวนใดภายในอายุความใช้สิทธิ เรียกร้อง
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บริษัทจัดการจะไม่นำเงินปันผลจำนวนดังกล่าวไปใช้เพื่อการอื่นใด
นอกจากเพื่อประโยชน์ของกองทุน

วิธีการเพิ่มเงินกองทุน
         บริษัทจัดการอาจเพิ่มเงินทุนของกองทุนรวมได้ เมื่อมีวัตถุประสงค์เพื่อซื้อหรือเช่าอสังหาริมทรัพย์
เพิ่มเติม หรือเพื่อดำเนินการปรับปรุงอสังหาริมทรัพย์ของกองทุนรวมให้อยู่ในสภาพที่ดี และมีความพร้อม
ที่จะใช้หาผลประโยชน์

         ในการเพิ่มเงินทุนของกองทุนรวมตามวรรคหนึ่ง  บริษัทจัดการจะดำเนินการดังต่อไปนี้
          (1)  จัดประชุมผู้ถือหน่วยลงทุนเพื่อขอมติ ซึ่งต้องได้มติไม่น้อยกว่าสามในสี่ของจำนวนหน่วยลงทุน
ของผู้ถือหน่วยลงทุนซึ่งมาประชุม   หรือมีหนังสือแจ้งผู้ถือหน่วยลงทุนเพื่อขอมติ ซึ่งต้องได้มติเกินกึ่งหนึ่ง
ของจำนวนหน่วยลงทุนที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมดของกองทุนรวม ทั้งนี้ ในการขอมติจากผู้ถือหน่วยลงทุน
บริษัทจัดการต้องระบุวัตถุประสงค์การเพิ่มเงินทุน อสังหาริมทรัพย์ที่จะลงทุน จำนวนเงินทุนและจำนวน
หน่วยลงทุนที่จะเพิ่ม วิธีการกำหนดราคาหน่วยลงทุนที่เสนอขาย และวิธีการจัดสรรหน่วยลงทุน  รวมทั้ง
กำหนดการนำหน่วยลงทุนเข้าเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ด้วย
         (2)   ขอความเห็นชอบจากสำนักงาน โดยต้องระบุรายละเอียดเช่นเดียวกันกับการขอมติจากผู้ถือ
หน่วยลงทุนตาม (1) เป็นอย่างน้อย
         (3)   จัดส่ง แจกจ่าย หรือจัดให้มีหนังสือชี้ชวน ตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. ประกาศ
กำหนด
         (4)   จดทะเบียนเพิ่มเงินทุนของกองทุนรวมตามประกาศว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการจดทะเบียน
กองทรัพย์สินเป็นกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ และในกรณีที่มีการออกเอกสารแสดงสิทธิในหน่วยลงทุน
ให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุนเป็นใบหน่วยลงทุน  ใบหน่วยลงทุนดังกล่าวจะมีรายการตามที่คณะกรรมการ ก.ล.ต.
ประกาศกำหนด
         ทั้งนี้  วิธีการเสนอขายหน่วยลงทุน ระยะเวลาการเสนอขายหน่วยลงทุน และวิธีการจัดสรรหน่วยลงทุน
จะเป็นไปตามแนวทางที่คณะกรรมการ ก.ล.ต.  สำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. และ/หรือหน่วยงานอื่นใดที่มี
อำนาจตามกฎหมายประกาศ กำหนด หรือเห็นชอบ

วิธีการลดเงินกองทุน
         บริษัทจัดการอาจลดเงินทุนของกองทุนรวมโดยการลดจำนวนหน่วยลงทุนได้เมื่อมีสินทรัพย์สภาพคล่อง
ส่วนเกิน  เนื่องจากการตัดค่าเสื่อมราคาอสังหาริมทรัพย์ของกองทุนรวม  หรือการตัดบัญชีสิทธิการเช่า
อสังหาริมทรัพย์ของกองทุนรวม  โดยถือว่าได้รับความเห็นชอบจากผู้ถือหน่วยลงทุนแล้ว

         ในการลดเงินทุนของกองทุนรวม บริษัทจัดการจะดำเนินการดังต่อไปนี้
         (1)  ปิดสมุดทะเบียนพักการโอนหน่วยลงทุน และคำนวณมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม ณ วันปิด
สมุดทะเบียนดังกล่าว
         (2)  ดำเนินการเฉลี่ยเงินคืนแก่ผู้ถือหน่วยลงทุนที่มีชื่ออยู่ในสมุดทะเบียน ณ วันปิดสมุดทะเบียนพักการ
โอนหน่วยลงทุนเพื่อไถ่ถอนหน่วยลงทุนตามสัดส่วนการถือหน่วยลงทุนของผู้ถือหน่วยลงทุนแต่ละราย  ทั้งนี้
มูลค่าหน่วยลงทุนให้คำนวณจากมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม ณ วันปิดสมุดทะเบียนพักการโอน
หน่วยลงทุน
         (3)  ยื่นคำขอจดทะเบียนลดเงินทุนของกองทุนรวมต่อสำนักงาน   ตามแบบคำขอที่คณะกรรมการ ก.ล.ต.
ประกาศกำหนด  ภายใน 5 วันทำการนับแต่วันที่ดำเนินการเฉลี่ยเงินคืนแก่ผู้ถือหน่วยลงทุน

เงื่อนไขเพิ่มเติม :
         -   ในกรณีที่กองทุนเกิดปัญหาขาดสภาพคล่อง  บริษัทจัดการขอสงวนสิทธิที่จะดำเนินการขาย /
จำหน่าย / จ่าย /โอนทรัพย์สินบางส่วนหรือทั้งหมดของกองทุน ตามที่เห็นสมควร โดยถือว่าได้รับความเห็นชอบ
จากผู้ถือหน่วยลงทุนแล้ว
         -   สำหรับเงื่อนไขของ  "การเพิ่มเงินทุน และการลดเงินทุน" ตามที่ระบุ ข้างต้น เว้นแต่กรณีที่คณะ
กรรมการก.ล.ต.  สำนักงานคณะกรรมการก.ล.ต. และ/หรือหน่วยงานอื่นใดที่มีอำนาจตามกฎหมาย ได้แก้ไข
เปลี่ยนแปลง เพิ่มเติม ประกาศ กำหนด สั่งการ เห็นชอบ และ/หรือผ่อนผันเป็นอย่างอื่น บริษัทจัดการจะดำเนินการ
ให้เป็นไปตามนั้นโดยถือว่าได้รับความเห็นชอบจากผู้ถือหน่วยลงทุนแล้ว

ข้อจำกัดในการโอน
         กองทุนรวมไม่มีข้อจำกัดการโอนหน่วยลงทุน เว้นแต่ที่เป็นไปตามที่ระบุไว้ในโครงการ / หนังสือชี้ชวน
ข้อ 5  "ข้อจำกัดการถือหน่วยลงทุน"  และหลักเกณฑ์ของตลาดหลักทรัพย์

จำนวนผู้ถือหน่วยลงทุนและการกระจายการถือหน่วยลงทุน       ณ วันที่  24 พฤศจิกายน 2549
                                        จำนวนราย   จำนวนหน่วย    ร้อยละของหน่วยลงทุน
                                                               ที่ออกจำหน่าย
ผู้ถือหน่วยลงทุนเกินกว่า 5/1000 ของหน่วยลงทุนทั้งหมด  26          388,507,100     82.08
ผู้ถือหน่วยลงทุนไม่เกิน 5/1000 ของหน่วยลงทุนทั้งหมด  521           84,809,000     17.92
และไม่ต่ำกว่า 1 หน่วยการซื้อขาย
ผู้ถือหน่วยลงทุนต่ำกว่าหนึ่งหน่วยการซื้อขาย            -                   -        -
          รวม                            547          473,316,100     100.00

ผู้ถือหน่วยลงทุนรายใหญ่                  ณ วันที่  24 พฤศจิกายน  2549
                                          จำนวนหน่วยที่ถือ          ร้อยละ
1.      บริษัท รังสิตพลาซ่า จำกัด               157,772,000           33.33
2.      Cimb (L) Limited                  53,455,000            11.29
3.      ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)          25,000,000            5.28
4.      มูลนิธิสถาบันพัฒนามันสำปะหลังแห่งประเทศไทย 20,000,000            4.23
5.      Cmref 1 Sdn Bhd                    18,345,000            3.88
6.      บริษัท ธนนนทรี จำกัด                   16,000,000            3.38
7.      Lapp Opportunity Master Fund       11,400,000            2.41
8.      บริษัท รังสิต ไอที จำกัด                 10,700,000            2.26
9.      บริษัท สาธรธานี จำกัด                   7,000,000            1.48
10.     บริษัทหลักทรัพย์ บัวหลวง จำกัด (มหาชน)     6,685,100            1.41
รวม                                       389,357,100           68.95

สถิติ
  วันที่     มูลค่าทรัพย์สินสุทธิ         การกระจายการลงทุนของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ
                                                    (หน่วย : พันบาท)
          ต่อหน่วย      รวม      เงินฝาก     หลักทรัพย์    อสังหาริมทรัพย์ ทรัพย์สินอื่น   หนี้สินอื่น
          (บาท)       (พันบาท)               ที่ลงทุน      ที่ลงทุน
24 พ.ย.49 9.9994  4,732,879.52 582,862.13   -    4,579,138.49  144,974.24 574,095.35

อื่น ๆ ที่สำคัญ (ถ้ามี)
ข้อจำกัดการถือหน่วยลงทุน :
         1.  ในการเสนอขายหน่วยลงทุน  บริษัทจัดการจะเสนอขายหน่วยลงทุนให้แก่เจ้าของอสังหาริมทรัพย์ที่
กองทุนรวมจะลงทุนได้ไม่เกินหนึ่งในสามของจำนวนหน่วยลงทุนที่เสนอขาย หากกองทุนรวมลงทุนใน
อสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวเกินหนึ่งในสามของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม   ทั้งนี้ ให้นับรวมจำนวน
หน่วยลงทุนและมูลค่าทรัพย์สินที่ลงทุนของบุคคลที่เกี่ยวข้องด้วย
               หากบริษัทจัดการยินยอมหรือมีส่วนรู้เห็นให้เจ้าของอสังหาริมทรัพย์ที่กองทุนรวมจะลงทุนถือ
หน่วยลงทุนเกินสัดส่วนตามวรรคหนึ่งโดยอาศัยชื่อของบุคคลอื่น  สำนักงานอาจสั่งเลิกกองทุนรวมได้
         2.  ก่อนการลงทุนเพิ่มเติมในอสังหาริมทรัพย์หรือสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ซึ่งจะมีมูลค่าเกินหนึ่ง
ในสามของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวมภายหลังการลงทุนเพิ่มเติมดังกล่าว บริษัทจัดการจะตรวจสอบ
มิให้ผู้ถือหน่วยลงทุนซึ่งเป็นเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ที่กองทุนรวมจะลงทุนถือหน่วยลงทุนเกินหนึ่งในสามของ
จำนวนหน่วยลงทุนที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมดของกองทุนรวม   ทั้งนี้ จะนับรวมจำนวนหน่วยลงทุนและมูลค่า
ทรัพย์สินของบุคคลที่เกี่ยวข้องด้วย
         3.   การพิจารณาว่าบุคคลใดเป็นบุคคลที่เกี่ยวข้องตามข้อ 1 และ 2  ให้เป็นไปตามประกาศสำนัก
งานคณะกรรมการ ก.ล.ต.ว่าด้วยบุคคลที่เกี่ยวข้องกับผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และสิทธิ
เรียกร้องโดยอนุโลม

วิธีการคำนวณ กำหนดเวลาในการคำนวณและการประกาศมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ มูลค่าหน่วยลงทุน
         1.  บริษัทจัดการจะคำนวณและประกาศมูลค่าทรัพย์สิน มูลค่าทรัพย์สินสุทธิ และมูลค่าหน่วยลงทุน
ของกองทุนรวมของวันทำการสุดท้ายของเดือนมิถุนายนและของเดือนธันวาคม ให้แล้วเสร็จภายใน 45 วัน
นับแต่วันทำการสุดท้ายของเดือนมิถุนายนและของเดือนธันวาคม แล้วแต่กรณี หรือภายในระยะเวลาที่ได้
รับการผ่อนผันจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ทั้งนี้ มูลค่าที่คำนวณได้
ดังกล่าวต้องมีผู้ดูแล ผลประโยชน์รับรองว่าการคำนวณมูลค่าดังกล่าวเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการ
กำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ประกาศกำหนด
         2. การประกาศมูลค่าทรัพย์สิน มูลค่าทรัพย์สินสุทธิ และมูลค่าหน่วยลงทุน ที่คำนวณได้ตามข้อ 1  บริษัท
จัดการจะประกาศในหนังสือพิมพ์รายวันอย่างน้อย 1 ฉบับ และปิดประกาศ  ไว้ในที่เปิดเผย ณ ที่ทำการทุกแห่งของ
บริษัทจัดการ และสำนักงานใหญ่ของผู้ดูแลผลประโยชน์
         3.  ในกรณีที่มีเหตุการณ์หรือการเปลี่ยนแปลงใด ๆ เกิดขึ้นภายหลังจากวันที่คำนวณตามข้อ 1  อันมี
ผลกระทบต่อมูลค่าอสังหาริมทรัพย์อย่างมีนัยสำคัญ  บริษัทจัดการจะเปิดเผยเหตุการณ์หรือการเปลี่ยนแปลง
ดังกล่าวในการประกาศตามข้อ 2 ด้วย  และหากเหตุการณ์หรือการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวเกิดขึ้นภายหลังจากวัน
ที่มีการประกาศตามข้อ 2 แล้ว บริษัทจัดการจะประกาศเรื่องดังกล่าวเพิ่มเติมโดยพลัน
         4.  ในการคำนวณมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม บริษัทจัดการจะคำนวณตามวิธีการดังต่อไปนี้
              (4.1) อสังหาริมทรัพย์ บริษัทจัดการจะใช้ราคาที่ได้จากรายงานการประเมินค่าหรือรายงานการ
สอบทานการประเมินค่าครั้งล่าสุด แล้วแต่กรณี เว้นแต่การคำนวณมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวมครั้งแรก บริษัท
จัดการจะใช้ราคาที่ซื้อหรือเช่าอสังหาริมทรัพย์นั้น
              (4.2)   ทรัพย์สินอื่น บริษัทจัดการจะกำหนดมูลค่าตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่สมาคมบริษัทจัดการ
ลงทุนกำหนด โดยได้รับความเห็นชอบจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์

เงื่อนไขเพิ่มเติม:
         สำหรับวิธีการคำนวณ กำหนดเวลาในการคำนวณและการประกาศมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ มูลค่าหน่วยลงทุน
บริษัทจัดการจะดำเนินการให้เป็นไปตามที่ระบุไว้ ข้างต้น เว้นแต่กรณีที่คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และ
ตลาดหลักทรัพย์ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ และ/หรือหน่วยงานอื่นใดที่มี
อำนาจตามกฎหมาย ได้แก้ไขเปลี่ยนแปลง เพิ่มเติม ประกาศ กำหนด สั่งการ เห็นชอบ และ/หรือผ่อนผันเป็น
อย่างอื่น บริษัทจัดการจะดำเนินการให้เป็นไปตามนั้นโดยถือว่าได้รับความเห็นชอบจากผู้ถือหน่วยลงทุนแล้ว
         ทั้งนี้  การคำนวณมูลค่าทรัพย์สิน มูลค่าทรัพย์สินสุทธิ และมูลค่าหน่วยลงทุนของกองทุนที่บริษัทจัดการ
ประกาศเป็นการ<